รายงานการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
ผู้จัดทำ นางสมลักษณ์ จันทหาร
ปี พ.ศ. 2555
บทคัดย่อ
รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านคลองแก้มช้ำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากนักเรียนที่ผู้ศึกษาเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ จำนวน 7 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบวัด
ความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
1. บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 91.35/92.50
2. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7656 หรือคิดเป็นร้อยละ 76.5
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีความก้าวหน้ากว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 24.50
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.56, S.D. = 0.54)