รายงานผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐานด้านการสังเกต
แบบลงมือกระทำ (Active learning) ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
เทศบาลตำบลหนองยวง
ผู้วิจัย นางสาวพิทยานนท์ ลังการ์พินธุ์
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถพื้นฐานด้านการสังเกตของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองยวง ก่อนทดลองและหลังทดลอง ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active learning) โดยมีคะแนนการพัฒนาตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไป การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้ กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว มีการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กชาย - เด็กหญิง กำลังเรียนอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ปี) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองยวง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน จำนวน 11 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถพื้นฐานด้านการสังเกต ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ปี) 2) แผนการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถพื้นฐานด้านการสังเกต ชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ปี) และ 3) แบบประเมินความสามารถพื้นฐานด้านการสังเกตของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ปี) การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์
โดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ (P) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการวิจัยพบว่า เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 (อายุ 4-5 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองยวง ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active learning) มีคะแนนความสามารถพื้นฐานด้านการสังเกตทั้งโดยภาพรวมและแยกรายด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะ ด้านการกะประมาณ และด้านการเปลี่ยนแปลง โดยมีรายละเอียดผลการทดลองก่อนการจัดประสบการณ์ คะแนนที่ได้แต่ละด้านเท่ากับ 52.73, 50.91 และ 50.91 ตามลำดับ
ผลคะแนนน้อยกว่าหลังการจัดประสบการณ์ทุกด้าน คือ 87.27, 85.45 และ 87.27 ตามลำดับ แสดงว่า เด็กมีคะแนน หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ เมื่อคิดเป็นร้อยละได้คะแนนร้อยละการพัฒนาโดยภาพรวม
อยู่ที่ 68.24