ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง
ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561
Transformational leadership Develop sufficiency school administration factors towards Achievement based on the sufficiency economy
Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018
นายนาค โพลาลัย
Mr. Nak Polalai
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 เป็น การวิจัยและพัฒนาโดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 เพื่อศึกษาการบริหารของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครูคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร
ปีการศึกษา 2561
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย (โดยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแยกเป็นกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 9 คน ครูจำนวน 12 คน นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 50 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 50 คน รวมจำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1)แบบสอบถามเกี่ยวกับการศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์
บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูต่อการบริหารของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 4) แบบสอบถาม
ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561
สถิติที่ใช้ในวิจัย การหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient) ตามวิธีครอนบาค (Cronbach) สถิติค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการทดสอบค่าที (T-test dependent)
การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มเป้าหมาย
คำสำคัญ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 โดยรวมและเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมาก เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1 ระดับการบริหารของ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2 โดยรวมและเป็นรายด้าน ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 หลังปฏิบัติงานมีระดับมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3 และความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 4
Abstract
Research subject Transformational leadership Develop sufficiency school administration factors towards Achievement based on the sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018. Research and development by combining quantitative research methods. and Qualitative Research. The purpose of this research to study leadership Develop sufficiency school administration factors towards Achievement based on the sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018. To study administration Of change leadership Develop the sufficiency institution management factors Towards achievement based on the sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018. To study the effectiveness comparison The performance of teachers caused by Transformational leadership Develop the sufficiency institution management factors Towards achievement based on the sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018. To study student satisfaction teacher Basic Education Commission And parents Towards change leadership Develop sufficiency school administration factors on achievement On the basis Sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018
Research population Target groups include Basic Education Commission, amount 9 persons Teachers of 12 Grade 4-6 students 50. The parents of Prathom 4-6 students (community representatives), amount 50 people. By specific selection method Total 121 people.
Tools used in research and data collection in this research.Is a questionnaire As follows 1) Questionnaire about The education Transformational leadership Factor Sufficiency school administration Towards achievement based on the sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Academic Year 2018 2) Teacher opinion questionnaire The administration Of change leadership Develop the sufficiency institution management factors Towards achievement based on the sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018 3) Questionnaire about Teacher performance level Caused by transformational leadership. Develop the sufficiency institution management factors Towards achievement based on the sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018 4) Student satisfaction questionnaire Teachers, basic education institution board and parents per Transformational leadership Develop the sufficiency institution anagement factors Towards achievement based on the sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018
Statistics used in research Reliability by Cronbach's Alpha Coefficient ,Percentage ,mean and standard deviation: SD and Compare means paired samples T-test
The research found that education Transformational leadership Develop sufficiency school administration factors towards Achievement based on the sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018. overall And each side The high level According to the hypothesis 1.
Management level of education Transformational leadership Develop sufficiency school administration factors towards Achievement based on the sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018. overall And each side Highest level ,According to the hypothesis 2.
Operational effectiveness Of Teachers And educational personnel about education Transformational leadership Develop sufficiency school administration factors towards Achievement based on the sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018. overall And each side After work ,Highest level Highest level ,According to the hypothesis 3.
Student satisfaction ,Teachers, Basic Education Board and parents education Transformational leadership Develop sufficiency school administration factors towards Achievement based on the sufficiency economy Muang Bua Witthayakhan School, Year 2018. overall ,Highest level Highest level ,According to the hypothesis 4.
Keywords: Transformational leadership ,Sufficiency Economy Achievement
บทนำ
การจัดการศึกษาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ได้กำหนดกรอบแนวคิดโดยมีวิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่าง มีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป้าหมายที่ 1 คนทุกช่วงวัย
มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
สู่การปฏิบัติ และเป้าหมายที่ 2 หลักสูตรแหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรม และการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ (สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560 : 24-25)
ในการดำเนินการจากกฎหมายด้านการศึกษาและนโยบายที่กล่าวมาคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดร้อยเอ็ดจึงได้กำหนดเป้าหมายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อตอบสนองนโยบายข้างต้น โดยกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาการศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ภายในปี 2564 ประชากรผู้รับบริการทั้งในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัย ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ครูและบุคลากรมีความเป็นมืออาชีพ สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล พันธกิจ 1) สนับสนุนประชากรผู้รับบริการในระบบนอกระบบและตามอัธยาศัยให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตลอดชีวิต 2) พัฒนาให้ผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบ มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ 3) พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพสู่สากล 4) ส่งเสริมผู้เรียนทุกวันสามารถใช้เทคโนโลยี ในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และ5) ส่งเสริมให้ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตาม หลักธรรมาภิบาล ประเด็นยุทธศาสตร์
1) สนับสนุนประชากรผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงต่อเนื่องตลอดชีวิต 2) เร่งรัดให้ผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ 3) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพสู่สากล 4) ส่งเสริมผู้เรียนทุกวัยสามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และ 5) ส่งเสริมให้ ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ตามหลักธรรมาภิบาล มีเป้าประสงค์ คือ 1) เพื่อสนับสนุนประชากรผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงต่อเนื่องตลอดชีวิต 2) เพื่อพัฒนาและเร่งรัดให้ผู้รับบริการทั้ง 3 ระบบมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ 3) เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเป็นมืออาชีพสู่สากล 4) เพื่อส่งเสริมผู้เรียนทุกวัยสามารถใช้เทคโนโลยี ในการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และ 5) เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลโดยมีกลยุทธ์ ดังนี้ 1) ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการบริการทางการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง 2) ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการบริการทางการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบ และตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานทั้งในระดับชาติและระดับสากล 3) สำรวจความต้องการของสังคม ชุมชนและท้องถิ่นต่อระบบการเรียนการสอน 4) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพทั้งในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย 5) ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะสมรรถนะสู่ความเป็นมืออาชีพ 6) ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี 7) จัดสรรและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบการให้บริการทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ 8) ส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาล มีความเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสั่งคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จากสถานะของประเทศและบริบทการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ประเทศกำลังประสบอยู่ทำให้การกำหนดวิสัยทัศน์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และกรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยั่งยืน โดยวิสัยทัศน์ของการพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนา ที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทย จากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคงและยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”ของประเทศ
ซึ่งโรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ได้กำหนดทิศทางเพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ “ภายในปี 2562 ประชากรใน วัยเรียนทุกคนได้เรียนอย่างมีคุณภาพโดยยึดเด็กเป็นสำคัญ ให้เด็กได้แสดงออกตามศักยภาพ ใช้ภูมิปัญหาท้องถิ่นสู่สากล โดยยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง และมีความเป็นไทย เพื่อให้เด็กเป็นคนดี เก่ง และมีความสุข การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน” โดยมีพันธกิจคือ 1) จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาให้เด็กกลุ่มอายุย่างเข้าปีที่ 5-6 ในเขตบริการให้ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 ในเขตบริการโรงเรียนให้ได้เข้าเรียนจนอายุย่างเข้าปีที่ 16 และได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกคน 3) พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ 4) ส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ 5) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน 6) พัฒนาสถานศึกษาตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งมีเป้าหมายภาพรวมตามภารกิจหลัก ดังนี้ 1) เพิ่มอัตราการเข้าเรียนทุกระดับ ทั้งเด็กทั่วไป ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสในเขตบริการ และลดอัตราการออกกลางคันของเด็กนักเรียน 2) ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) สถานศึกษามีระบบบริหารจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล 4) ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ 5) สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและ6) พัฒนาสถานศึกษาได้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และมีกลยุทธ์การพัฒนา ดังนี้ 1) สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสให้ผู้เรียนได้รับการศึกษา ขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง 2) พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 4) พัฒนาครูและบุคลากร สู่มาตรฐานวิชาชีพ และ 5) เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปฐมวัยและหลักสูตรท้องถิ่น ซึ่งเป็นแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณภาพชีวิตที่ดีในสังคม และประเทศชาติ
ในปีการศึกษา 2561 ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารโรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 ยังพบว่า มีประเด็นปัญหา คือ อุปสรรคบางประการที่พบว่าในด้านการบริหารและด้านการจัดการศึกษายังไม่มีกลไกที่ชัดเจน สภาวะผู้นำในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามขอบข่ายทั้ง 4 ด้าน อันได้แก่ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปของสถานศึกษา เป็นการตอบสนองแนวทางการจัดการเรียนรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษา และครูที่เป็นกำลังสำคัญไม่เห็นความสำคัญ และคิดว่าเป็นการ สร้างงานกิจกรรมขึ้นมาใหม่ ในการบูรณาการเนื้อหาให้มีความสอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว แต่งานวิจัยเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ผ่านมา พบว่ามีเงื่อนไขปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากงานวิจัยของศรีพร แก้วโขง (2554 : 66) พบว่า ประสบการณ์เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงของครู มีผลต่อการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาคร ประกอบด้วยโรงเรียนในสังกัดที่มีหลายขนาดและแต่ละโรงเรียนผ่านการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระยะที่แตกต่างกันจากปัจจัยดังกล่าว อาจส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของแต่ละโรงเรียน ประกอบกับที่ผ่านมายังไม่มีงานวิจัยใดสะท้อนผลการบริหารสถานศึกษาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสาครอย่างชัดเจน นอกจากนั้นประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูที่จะดำเนินงานที่มุ่งให้เกิดผล เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ตามคุณภาพการศึกษาด้านหลักสูตร และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สถานศึกษาพอเพียงยังไม่ชัดเจนในหน่วยการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการวัดผลประเมินผล การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับปรียานุช พิบูลสารวุธ (2549 : คำนำ) หัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และประธานคณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสถาบันการศึกษาและเยาวชน ได้กล่าวถึงการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารการศึกษาว่าควรเริ่มจากในสถานศึกษา ผู้อำนวยการ ต้องบริหารสถานศึกษา งบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ งานธุรการ งานสถานที่ เช่น การบริหารบุคคลโดยใช้หลักนี้ ผู้บริหารต้องกระจายงานอย่างเป็นเหตุเป็นผล ใครเก่งด้านไหนมอบหมายงานให้ตรงกับความถนัดความชอบ ของเขา (put the right man to the right job) ทำอย่างไรที่มอบหมายงานแล้วไม่ทำให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาทะเลาะกัน ทำอะไรต้องไม่ประมาทเสริมสร้างให้มีการรวมกลุ่มกันทำงานอย่างสามัคคี ก็ต้องใช้หลักธรรมความถูกต้อง ความยุติธรรม ความเป็นเหตุเป็นผล ความเด็ดขาด ชัดเจน กระตุ้นให้เกิดขวัญกำลังใจ มีความอดทนความเพียรที่จะร่วมกันทำงานจนบรรลุเป้าหมาย เป็นต้น แต่ในส่วนของผู้บริหารหรือครูอาจเข้าใจผิดว่าการประกาศนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาต้องสร้างงานหรือกิจกรรมขึ้นมาใหม่ ความจริงไม่ใช่แต่เป็นการนำหลักการ กรอบแนวคิด และแนวทางการปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงานที่ทำอยู่แล้วให้มีความสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงใน 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านวัฒนธรรม โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจให้ถูกต้องชัดเจนว่าพระองค์ท่านรับสั่งเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงหรือวิถีชีวิตพอเพียงอย่างไร ที่มักจะเรียกสั้น ๆ ว่า หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข หมายความว่า อะไรส่งผลต่อการคิด พูด ทำอย่างพอประมาณ อย่างเป็นเหตุเป็นผล และต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยใช้คุณธรรมกำกับความรู้ในการสร้างความพอเพียง ยกตัวอย่าง การบริหารสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา เช่น ถ้าต้องการปรับบรรยากาศแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้งบประมาณไม่บานปลาย จากที่เคยประชุมวางแผนเตรียมการและลงมือดำเนินการก็ลองนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นแนวทาง เริ่มตั้งแต่คิดวางแผนว่าจะจัดงานอย่างไรให้ประหยัดแล้วเกิดประโยชน์และ มีความสุขด้วย คิดถึงความคุ้มค่าของทรัพยากร ทุกอย่างที่นำมาใช้ ใช้งานนี้แล้วใช้ประโยชน์อะไรได้อีก เป็นต้น ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นผู้นำเสริมการยอมรับ เชื่อมั่นศรัทธา สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นการใช้ปัญญา และความแตกต่างของครูของแต่ละบุคคลคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และมาแก้ปัญหาและพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ได้แก่พัฒนาการบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ภาวะผู้นำจึงเป็นหัวใจของความสำเร็จของเป้าหมายการพัฒนาการศึกษาสู่การพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จากที่มาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ในปีการศึกษา 2561 ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารโรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร จึงได้ออกแบบพัฒนาวิจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยน พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลสัมฤทธิ์ บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแก้ไขปัญหาพัฒนาปัจจัยการบริหารที่ส่งผลถึงครูให้เกิดการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้สู่ผู้เรียน จึงได้ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เชื่อมโยงระดับการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทำให้การดำเนินงานของครูมีประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน สะท้อนผลลัพธ์ในเชิงปฏิบัติงานและนโยบายก่อให้เกิดประโยชน์ของผลงานจากการวิจัยอย่างกว้างขวางต่อผู้เรียน ครู โรงเรียน และชุมชนอย่างแท้จริง
วิธีการดำเนินการวิจัย และเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ จะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามวิธีการและขั้นตอนดังนี้
1. เชิญผู้เกี่ยวข้องกลุ่มเป้าหมายชี้แจงรายละเอียดเพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินงานและความร่วมมือในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อเป้าหมายและความสำเร็จของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2560
2. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการชี้แจงรายละเอียดได้ศึกษาเนื้อหาของกิจกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐาน เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 แล้วสามารถเข้าถึง เข้าใจให้ความร่วมมือในการทำการวิจัยในบทบาทหน้าที่ ตามกฎหมายบัญญัติ ซึ่งเป็นผลกระทบสะท้อนกลับในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการวิจัยครั้งนี้
3. ดำเนินการแจกแบบสอบถามเกี่ยวกับการศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร เมื่อทราบแนวทางการบริหารสถานศึกษาพอเพียงของผู้บริหาร ตามประเด็นคำถามเป็นรายข้อ จำนวน 21 ฉบับ ได้รับคืนจำนวน 21 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2561
4. ดำเนินการแจกแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐาน เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 ฉบับ ก่อนการวิจัย
ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ได้รับคืนจำนวน 12 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100
5. ดำเนินการแจกแบบสอบถามความคิดเห็นของครูต่อการบริหารของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 ฉบับ เกิดขึ้นระหว่างการชี้แจงรายละเอียดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 ฉบับ ได้รับคืนจำนวน 12 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ในวันที่ 20 มีนาคม 2562
6. ดำเนินการแจกแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำ
การเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 ฉบับ หลังสิ้นสุดการวิจัยในวันที่ 20 มีนาคม 2562 ได้รับคืนจำนวน 12 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100
7. ดำเนินการแจกแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 121 ฉบับ ในวันที่ 21 มีนาคม 2562 ได้รับคืนจำนวน 121 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100
8. เมื่อผู้วิจัยรับแบบสอบถามกลับคืนหลังสิ้นสุดการวิจัย ทำการตรวจสอบและคัดเลือกแบบสอบถาม พบว่า ได้ฉบับที่สมบูรณ์ทุกฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100
9. นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์ ไปบันทึกข้อมูล ลงในคอมพิวเตอร์ โดยวิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
10. นำผลการคำนวณมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ต่อไป
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561
พบว่า ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.65 S.D.=0.31) เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
2. ผลการวิเคราะห์การบริหารภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐาน เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561
พบว่า ระดับความคิดเห็นของครูต่อการ
บริหารของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัย
การบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70 S.D.= 0.23) เป็นไปตามสมมติฐาน
ข้อ 2
3. การวิเคราะห์ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร
ปีการศึกษา 2561
พบว่า ผลการประเมินประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูที่เกิดจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการวิจัย ( = 4.27 = 4.91) มีระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครูเพิ่มมากขึ้นทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบกันหลังการวิจัย ครูมีประสิทธิผลในการปฏิบัติงานสูงกว่าก่อนการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561
พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.89 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.19 แสดงว่า ผู้เรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน เมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 4
อภิปรายผล
1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน
เมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561
ผลการวิจัย พบว่า ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเมืองบัววิทยาคาร ปีการศึกษา 2561 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.65 S.D.=0.31) เรียงลำดับจากมาก ไปน้อย ได้แก่ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการคำนึงปัจเจกบุคคล และ ตามลำดับ แสดงว่า ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้แสดงความคิดเห็นที่มีต่อระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาพอเพียง ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1 ทั้งนี้อันเนื่องมาจาก ผู้บริหารให้ความสำคัญต่อครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียและผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษาพอเพียง และมีพฤติกรรมในขีดความสามารถในการบริหารสถานศึกษาที่ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสามารถในการปฏิบัติงานในหน้าที่มีการบูรณาการสถานศึกษาพอเพียง เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบได้อย่างเต็มความสามารถ และมากกว่าที่ตั้งใจไว้แต่ต้น ส่งผลให้สถานศึกษาพอเพียงได้รับการพิจารณาตลอดเวลา ทันการเปลี่ยนแปลงของประเทศและโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เกิดจากการบริหารของการมีอิทธิพล เชิงอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญาและการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ส่งผลถึงผลสัมฤทธิ์บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง สอดคล้องกับฉวีวรรณ จันทร์เม่ง (2552 : 11 – 12) ที่ได้ศึกษาทฤษฎีเชิงระบบ (system approach) ตามแนวคิดของ แคทซ์ (Katz) และคาน (Kahn) มาเป็นขอบข่ายเชิงทฤษฎีของ การวิจัยที่กล่าวว่า องค์การ เป็นระบบ ๆ หนึ่งภายในองค์การซึ่งประกอบด้วยปัจ