การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์
1. รูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (PHKP Model) มีองค์ประกอบของรูปแบบ 5องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 เข้าร่วม (P : Partake) ขั้นที่ 2 ทำตาม (H : Hunt) ขั้นที่ 3 เรียนรู้ (K : Know) ขั้นที่ 4 ปฏิบัติ (P : Practice) 4) การวัดประเมินผล และ 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ผลการหาค่าประสิทธิภาพของรูปแบบ ตามเกณฑ์ E1/E2 กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบเท่ากับ 80.29/81.30
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสรุปดังนี้
2.1 หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
2.2 หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น
2.3 หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีเจตคติต่อทัศนศิลป์อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทัศนศิลป์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนกลุ่มขยายผลที่เรียนตามรูปแบบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่ากก่อนเรียน มีพัฒนาการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น และมีเจตคติต่อทัศนศิลป์อยู่ในระดับมากที่สุด