การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ที่จัดการ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายณัฐวุฒิ ชีกว้าง
หน่วยงาน โรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษาอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย 2556
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDLกลุ่มเป้หมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวนทั้งสิ้น 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วนและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDLผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL พบว่า โดยรวมพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายพฤติกรรม พบว่า การยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนอยู่ในระดับมากและเป็นลำดับที่ 1 รองลงมาคือ การสื่อสารให้กำลังใจเพื่อน การสนับสนุนกันและกันอยู่ในระดับปานกลาง และการร่วมเสนอแนวคิดและปฏิบัติด้วยความเต็มใจ ตามลำดับ
3. ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ในด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ เป็นลำดับที่ 1 รองลงมาคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ