การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนบทความ
ผู้วิจัย นางประถม ปราเวช
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาเพิ่มเติม การเขียน 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจากการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยรายวิชาเพิ่มเติม การเขียน 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาเพิ่มเติม การเขียน 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/10 โรงเรียน พิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รูปแบบการทดลอง คือ One Group Pretest –Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบฝึกทักษะการเขียน เชิงสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาเพิ่มเติม การเขียน 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การเขียนบทความ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีความยากอยู่ระหว่าง 0.30 – 0.77 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.25–0.95 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 และแบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามเป็นรายข้อระหว่าง 0.35 - 0.76 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยใช้ t-test แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาเพิ่มเติม การเขียน 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.09 /81.88 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาเพิ่มเติม การเขียน 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาเพิ่มเติม การเขียน 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.71
ดังนั้นการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รายวิชาเพิ่มเติม การเขียน 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นนักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้ เหมาะที่จะนำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป