บทคัดย่อ การพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว
ผู้ศึกษา นางปัทมน จันทรมณี
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว ที่บูรณาการสำเนียงภาษาอังกฤษที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนและหลังจากการใช้ชุดการสอน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดการสอนภาษาอังกฤษ ในการพัฒนาชุดการสอนนั้น ผู้วิจัยใช้แบบแผนงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และใช้ขั้นตอนของรัตนะ บัวสนธ์ (2562) ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบ สร้าง และการประเมินนวัตกรรม ขั้นตอนที่ 3 การนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินและปรับปรุงนวัตกรรม ชุดการสอนที่ได้พัฒนาขึ้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดโพธาวาส) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนด้วยแบบทดสอบปรนัยและความพึงพอใจต่อชุดการสอน
ผลการวิจัยสรุปว่า ลักษณะของชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวที่บูรณาการสำเนียงภาษาอังกฤษที่หลากหลาย ที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้ 1) ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes) 2) กิจกรรมการเรียนรู้ (Learning Activities) 3) เนื้อหาของชุดการสอน (Content in the Instructional Package) 4) สำเนียงภาษาอังกฤษที่หลากหลาย (Variety of English Accents) และ 5) การใช้ภาษาของมัคคุเทศก์ (Language Use of Tour Guide) หลังจากนำ ชุดการสอนไปใช้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนหลังจากใช้ชุดการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนในระดับมากถึงมากที่สุด โดยมีด้านที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด 3 ด้าน เรียงตามลำดับ ได้แก่ กิจกรรมการใช้ Google Map กิจกรรมการฟังสำเนียงภาษาอังกฤษที่หลากหลาย และกิจกรรมการฝึกใช้ภาษามัคคุเทศก์ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสังเกตการสอนพบว่า ผู้เรียนมีความสนใจที่จะเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มีความตระหนักเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับลักษณะของผู้ใช้ภาษาอังกฤษที่เปลี่ยนแปลงไป มีทัศนคติที่ดีต่อความหลากหลายของสำเนียงภาษาอังกฤษ และผู้เรียนได้ระบุถึงความยากเกี่ยวกับการวิเคราะห์สำเนียงภาษาอังกฤษที่แตกต่างด้วย จากผลการวิจัยที่ดีดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยแนะนำให้ครูภาษาอังกฤษในจังหวัดสุราษฎร์ธานีท่านอื่นสามารถนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ได้ห้องเรียนได้ หรือใช้วิธีการที่ผู้วิจัยใช้ ในการพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะกับบริบทโรงเรียนของตนเอง
Abstract
The purposes of this study were threefold: 1) To develop an instructional package of English for Tourism integrated with a variety of English accents for Secondary 6 students, 2) To compare learning achievement before and after learning with the package, and 3) To examine students’ satisfaction after learning with the package. To develop the instructional package, the researcher used the Research and Development approach by Rattana Buason (2019), consisting of four steps as follows: 1) Investigating basic information, 2) Designing, developing, and assessing an innovation, 3) Trying out an innovation, and 4) Assessing and revising an innovation. The package was implemented with Secondary 6 students at the Fourth Municipal School (Watphathawat), Educational Office of Surat Thani Municipality, Mueang, Surat Thani Province. Learning achievement and students’ satisfaction were measured.
The results showed that the characteristics of the instructional package consisted of important aspects as follows: 1) Expected Learning Outcomes), 2) Learning Activities, 3) Content in the Instructional Package, 4) Variety of English Accents, and 5) Language Use of Tour Guide. After implementing the instructional package, it was found that students’ learning achievement after studying with the package was significantly higher than before studying with the package. The students also reported having positive satisfaction, ranging from the high to the highest level. There aspects of satisfaction were revealed respectively, namely using Google Map, learning to a variety of English accents, and practicing the language of tour guide. Additionally, the data from the interview and observation pointed out that the students were more attentive to study English for Tourism as compared with the experiences in the past. They also reported having more awareness of the changing landscape of English users, possessing positive attitudes toward a variety of English accents. Finally, they reported having difficulty with the activity of analyzing a variety of English accents. As this research revealed positive results, the research would like to recommend other English teachers in Surat Thani to use the instructional package or use the research approach to develop one own innovation appropriate to their contexts.