ความสามารถในการอ่านคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด แม่กด ของนักเร
ความสามารถในการอ่านคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด แม่กด ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิควิธีสอนพหุสัมผัส
ผู้วิจัย : นางสาวอนงค์ บุญเลิศ
สถานศึกษา : โรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา
สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด แม่กด ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เทคนิควิธีสอนพหุสัมผัส และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนทดสอบความสามารถในการอ่านคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด แม่กด ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิควิธีสอนพหุสัมผัส กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการอ่าน จำนวน 7 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ซึ่งคัดกรองนักเรียนโดยใช้แบบคัดกรอง Kus-si Rateing Scaies : LDHD/LD/ Autism (PDDS) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิควิธีสอนพหุสัมผัส สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 แผน และแบบทดสอบความสามารถในการอ่านคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด แม่กด จำนวน 20 คำ ใช้เวลาในการทดลอง รวม 2 สัปดาห์ ๆ ละ 5 วัน ๆ ละ 50 นาที รวมเวลาระยะเวลา 10 วัน ทั้งนี้ไม่รวมระยะเวลาการนำแบบทดสอบความสามารถในการอ่านคำก่อนเรียนและหลังเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและนำเสนอข้อมูลเป็นตารางและกราฟ
ผลการศึกษาพบว่า
1. การศึกษาความสามารถในการอ่านคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด แม่กด ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา โดยใช้เทคนิควิธีสอนพหุสัมผัส พบว่า มีความสามารถในการอ่านคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด แม่กด มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.29
2. การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิควิธีสอนพหุสัมผัส พบว่า คะแนนก่อนเรียนค่าเฉลี่ยร้อยละ 25.71 คะแนนหลังเรียนค่าเฉลี่ยร้อยละ 90.71 มีพัฒนาการการอ่าน คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 6