LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

บทคัดย่อ การพัฒนารูปแบบการสอนการสร้างนิทาน

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการสอนการสร้างนิทานด้วยโปรแกรมนำเสนอโดยใช้การเรียนรู้
แบบทีมร่วมมือ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านทักษะการปฏิบัติ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย         นางจุฑารัตน์ วงษาครบุรี
ปีที่ทำวิจัย 2562

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2)เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนการสร้างนิทานด้วยโปรแกรมนำเสนอโดยใช้การเรียนรู้แบบทีมร่วมมือเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านทักษะการปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3)เพื่อศึกษาผลการใช้รูปการสอนการสร้างนิทานด้วยโปรแกรมนำเสนอโดยใช้การเรียนแบบทีมร่วมมือที่พัฒนาขึ้น และ 4)เพื่อประเมินผลรูปแบบการสอนการสร้างนิทานด้วยโปรแกรมนำเสนอโดยใช้การเรียนแบบทีมร่วมมือที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัย
4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอน จากการสนทนากลุ่มครูที่สอนเทคโนโลยีสารสนเทศและครูที่รับผิดชอบงานวิชาการจำนวน 5 คน สอบถามนักเรียนจำนวน 30 คน โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา ด้วยแบบสอบถามสภาพสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนและศึกษาจากเอกสาร ขั้นตอนที่ 2 สร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนการสร้างนิทานด้วยโปรแกรมนำเสนอโดยใช้การเรียนรู้แบบทีมร่วมมือด้วยการสร้างต้นแบบรูปแบบการสอน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนการสร้างนิทานด้วยโปรแกรมนำเสนอโดยใช้การเรียนรู้แบบทีมร่วมมือที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา ปีการศึกษา 2562 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างละ 1 ห้อง กลุ่มทดลอง จำนวน 27 คน เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนแบบทีมร่วมมือ ส่วนกลุ่มควบคุม จำนวน 29 คน เรียนด้วยรูปแบบการเรียนปกติ กลุ่มละ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลา 12 ชั่วโมง เท่ากันทั้งสองกลุ่ม มีการทดสอบวัดสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านทักษะการปฏิบัติก่อนและหลังเรียนทั้งสองกลุ่ม ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยการ
สอบถามความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง สนทนากลุ่มนักเรียน และประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการสอนโดยครูผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent sample t-test, Independent sample t-testข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสรุปเป็นรายประเด็น
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการสอนเทคโนโลยีสารสนเทศครูมีความเห็นว่าระดับสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับปานกลาง เครื่องคอมพิวเตอร์มีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ครูยังนิยมใช้วิธีการสอนแบบเรียนเดี่ยว แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนเห็นว่าควรเน้นฝึกทักษะ มีวิธีการวัดผลชัดเจน และใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือเป็นทีมเล็ก ๆส่วนนักเรียนมีความเห็นว่าสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง แต่การใช้โปรแกรมนำเสนออย่างเป็นระบบยังอยู่ระดับน้อย ด้านรูปแบบการเรียนที่ต้องการควรเป็นการเรียนเป็นกลุ่ม ทำงานเป็นกลุ่ม ให้คะแนนทั้งจากการสอบและจากผลงานด้วย
    2. รูปแบบการการสอนที่พัฒนาขึ้น ประยุกต์จากการนำแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือ ผสมผสานกับแนวคิดการเรียนเป็นทีม ได้รูปแบบใหม่ชื่อว่าการเรียนรู้แบบทีมร่วมมือ (Cooperative-Team Learning: CTL)มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ คือ หลักการวัตถุประสงค์เนื้อหาการเรียนรู้ ขั้นตอนการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลมีขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการรู้ 5 ขั้นตอน (PCTCA procedure) คือ 1) ขั้นเตรียม (Preparation:P)เป็นขั้นจัดทีมผู้เรียนและทดสอบความพร้อมผู้เรียน 2) ขั้นการเรียนรู้ร่วมกัน (Class Study:C) เป็นขั้นการเรียนรู้ทั้งห้องและมอบหมายงาน3) ขั้นทำงานเป็นทีม (Team Study:T) เป็นขั้นการทำงานที่ได้รับมอบหมาย4) ขั้นตรวจสอบผลสำเร็จ (Completion:C) เป็นขั้นนำเสนอผลงานทีมการอภิปรายและสะท้อนผลและขั้นประเมินผล (Assessment:A)เป็นขั้นทดสอบความรู้ตามเนื้อหารายคน ทดสอบทักษะรายคน และประเมินจากผลงานทีม เมื่อเรียนครบเนื้อหาแล้ว ลักษณะรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นจะจัดผู้เรียนเป็นทีม ๆ ละ 3 คน อยู่ในทีมของตนตลอดระยะการทดลอง เนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้เป็นการใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPoint ในการสร้างตัวละคร ฉาก และส่วนประกอบของนิทานที่ผู้เรียนออกแบบ เรียนรู้ตั้งแต่การเริ่มต้นใช้โปรแกรม การสร้างส่วนประกอบของนิทานด้วยโปรแกรม จนถึงการนำเสนอผลงานเมื่อเสร็จสิ้น ผู้สอนประเมินสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านทักษะการปฏิบัติด้วยการทำแบบทดสอบ การสังเกตการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ และการประเมินจากชิ้นงานผลการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน(E1/E2) ขั้นทดลองใช้ เท่ากับ 85.33/83.33เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
    3.ผลการนำรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่าคะแนนสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านทักษะปฏิบัติของกลุ่มทดลองมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ย 28.07 คะแนนหลังเรียนเฉลี่ย 34.33 จากคะแนนเต็ม 40 เมื่อทดสอบด้วยค่าสถิติที พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหลังเรียนของกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย 34.33 กลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ย 29.31 เมื่อทดสอบด้วยค่าสถิติที พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ผลการทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน(E1/E2) ขั้นนำไปใช้จริง เท่ากับ 85.32/85.83 เป็นไปตามเกณฑ์
ที่กำหนดไว้ที่ 80/80
    4. ผลการประเมินผลรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดนักเรียนมีความคิดเห็นว่าการเรียนรู้แบบทีมร่วมมือช่วยกระตุ้นความสนใจ ช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม ได้ฝึกปฏิบัติอย่างทั่วถึง สร้างความมั่นใจในตนเองและช่วยพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยครูผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^