การประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ ชั้น ป.1-3
โรงเรียนบ้านห้วยหินดำ ปีการศึกษา 2561
ผู้ประเมิน นางไปรยา พลศารทูล
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสามัคคีธรรม
ปีการศึกษา 2561
บทสรุปของผู้บริหาร
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3 โรงเรียนบ้านห้วยหินดำ ปีการศึกษา 2561 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินในด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มประชากรประกอบด้วยครูโรงเรียนบ้านห้วยหินดำ จำนวน 7 คน และการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3 โรงเรียนบ้านห้วยหินดำ
ปีการศึกษา 2561 จำนวน 76 คน แบ่งเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (µ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการประเมินพบว่า
ความคิดเห็นของครูโรงเรียนบ้านห้วยหินดำต่อโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3 โรงเรียนบ้านห้วยหินดำ ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านกระบวนการ รองลงมา คือ ด้านผลผลิต ด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า
1. ด้านสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กิจกรรมสามารถสร้างเสริมสภาพการอ่านการเขียนของนักเรียนให้พัฒนาดีขึ้น
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ บุคลากรที่ร่วมดำเนินการโครงการมีความรู้ ความสามารถ เหมาะสม และเพียงพอ
3. ด้านกระบวนการของโครงการ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการประชุมชี้แจงนโยบายยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษากลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย
4. ด้านผลผลิตของโครงการ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ นักเรียนนำความรู้ ทักษะ ด้านการอ่านไปบูรณาการใช้ประโยชน์ในสาระการเรียนรู้อื่นได้ 4.1 ผลการประเมินเกี่ยวกับความสำเร็จและคุณภาพของผลผลิตของโครงการ จากการประเมินความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวม 2 สมรรถนะ พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับ สพฐ. และระดับประเทศ ผลการทดสอบ การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมนักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ทุกคน และผลการทดสอบการวัดความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านการคำนวณ และด้านเหตุผล สูงกว่าทุกระดับ โดยเฉพาะความสามารถด้านภาษามีผลการประเมินอยู่ในอันดับที่ 1 ของเขตพื้นที่การศึกษา อันดับที่ 1 จังหวัด อันดับที่ 1 ศึกษาธิการภาค และอันดับที่ 8 ของประเทศ
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการ จากความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียน