รายงานผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเกมสัมพันธ์
การเล่นเกมโดยใช้กิจกรรมเกมกลุ่มสัมพันธ์
ผู้ศึกษา นางวิไลพร ระยะ ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านยาง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมกลุ่มสัมพันธ์และเพื่อศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการเล่นเกมโดยใช้กิจกรรมเกมกลุ่มสัมพันธ์ตลอดการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 1 (3-4 ปี) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบล บ้านยาง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จำนวน 10 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. แผนการจัดกิจกรรมเกมกลุ่มสัมพันธ์ จำนวน 25 แผน 25 กิจกรรม เกม ได้แก่ เกมตัวต่อหรรษา เกมรวมพลังเพื่อนรัก เกมแม่ไก่ขน เกมแต่งตัวให้เพื่อน เกมหอคอยจากแก้วพลาสติก เกมสนุกกับกล่องนม เกมรวมใจกลายเป็นโซ่ เกมเก็บสมบัติ เกมโยนบอลเข้าตะกร้า เกมสนุกกับการพับผ้า เกมใบไม้มหัศจรรย์ เกมสร้อยคอรวมใจ เกมหาคู่ให้หนูที เกมพวกเราคือใคร เกมแปลงร่างไม้หนีบผ้า เกมหลอดกาแฟสารพัดประโยชน์ เกมเพื่อนหนูอยู่ไหน เกมพาเพื่อนเข้าบ้าน เกมพี่กับน้อง เกมรวมกันเป็นหนึ่ง เกมลูกบอลสามัคคี เกมต้อนหมูเข้าคอก เกมซื้อแตงโม เกมแมวขโมยรองเท้า เกมขอเข้าไปหน่อยนะ 2. แบบประเมินพฤติกรรมทางสังคม จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t – test (Independent Sample t – test)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองพบว่า เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมทางสังคมก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05
2.. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลอง 2 ครั้ง ระยะห่างกัน 2 สัปดาห์ พบว่า พฤติกรรมทางสังคมของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ระหว่างหลังการทดลอง ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
3. ผลการศึกษาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างที่พัฒนาขึ้นตลอดการทดลอง จากการวัดพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยที่วัดก่อนการทดลอง 2 ครั้ง วัดระหว่างการทดลอง 4 ครั้ง และวัดหลังการทดลอง 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง ตลอดการศึกษา ผลการศึกษา พบว่าพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยมีค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมทางสังคมมีค่าต่ำ สุดกว่าจุดอื่น ๆ (12.90) แล้วพัฒนาสูงขึ้นตามลำดับ (13.10,17.60,20.50,22.10,23.30,24.60 และ 24.90) จนเมื่อหลังการทดลองครั้งที่ 1 พบว่า เด็กกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมทางสังคมสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน (24.90) ส่วนผลการวัดหลังการทดลองครั้งที่ 2 ซึ่งห่างจากการวัดหลังการทดลองครั้งที่ 1 เป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าพฤติกรรมทางสังคมของเด็กได้พัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน