การพัฒนากิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ ขอ
ชื่อรายงาน การพัฒนากิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
ผู้วิจัย นางศิริวรรณ เหมะจันทร ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
ปีที่ศึกษา 2561
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ประเภทการทดลองตามแบบแผนการวิจัยเชิงทดลองขั้นพื้นฐาน Pre – Experimental Designs โดยใช้การทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest – Posttest Design) มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร 2) เพื่อสร้างและพัฒนากิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชรให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร ก่อนและหลังได้รับกิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อกิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ แบบวัดการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมแต่ละครั้ง แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแผนการจัดกิจกรรมแนะแนว เพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ และต่อผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการจัดการ เรียนรู้กิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชรได้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.81/89.68 3) นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบวัดการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความเห็นว่าการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว เพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ ช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนาการตั้งเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพ