LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย

usericon

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน(Analysis : A) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งข้อมูลเอกสารและบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนิยาม ความสามารถ พฤติกรรมบ่งชี้ และแนวทางการพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (Design and Develop : D1 , D2) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (Implement : I) ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (Evaluation : E) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของหลังสูตร (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 แสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพ มีความเหมาะสมในการนำไปทดลองใช้ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ แบบทดสอบการอ่านจับใจความ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 ดำเนินการเก็บข้อมูลทุกขั้นตอนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
    ผลการวิจัย พบว่า
        1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบ 5 ขั้นตอน ดังนี้
    ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม
        ขั้นที่ 2 ขั้นสอนเป็นกลุ่ม
        ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบความรู้เป็นคู่ทีม
        ขั้นที่ 4 ฝึกเสริมเป็นรายบุคคล
        ขั้นที่ 5 การวัดผล และประเมินผล
        2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47)
        3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า คะแนนเต็ม 40 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 18.95 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.38 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 31.30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 78.25 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยเพิ่มขึ้น
    4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า คะแนนเต็ม 40 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 18.43 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 46.08 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 33.93 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.83 ซึ่งไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย
    2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการอ่านจับใจความภาษาไทยที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^