รายงานผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชั้นเตรียมอนุบาล 1/1
ชื่อผู้ศึกษา : จำเนียร ติดต่อ
ปีการศึกษา : 2561
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้านทักษะ การสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการลงความเห็น และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้านทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการลงความเห็นก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ ชั้นเตรียมอนุบาล 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งท่าช้าง จำนวน 15 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย แผนการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย และแบบประเมินเชิงปฏิบัติการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ดำเนินการประเมินเชิงปฏิบัติการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนการจัดกิจกรรมการทดลอง ระหว่างการทดลอง ในช่วงสัปดาห์ ที่ 1-10 ดำเนินการจัดกิจกรรมตามคู่มือการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ จนครบ 10 สัปดาห์ จึงทำการประเมินเชิงปฏิบัติการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลัง การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบประเมินเชิงปฏิบัติการทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชุดเดียวกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( x-bar) ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และค่า t (T-Test) สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นช่วงสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 1 – 10 ทั้งรายพฤติกรรมและภาพรวมมีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทุกสัปดาห์มีผลการพัฒนาที่ดีขึ้น ด้านการสังเกต 1.13, 1.33, 1.47, 1.53, 1.87, 2.00, 2.13, 2.33, 2.47, 2.80 ด้านการจำแนกประเภท 1.20, 1.33, 1.47, 1.67, 1.93, 2.20, 2.27, 2.33, 2.53, 2.73 ด้านการสื่อความหมาย 1.20, 1.33, 1.40, 1.67, 1.80, 2.00, 2.13, 2.33, 2.53, 2.67 และด้านการลงความเห็น 1.13, 1.27, 1.33, 1.53, 1.73, 2.07, 2.20, 2.40, 2.67, 2.87 และในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน เป็นช่วงสัปดาห์มีผลการพัฒนาที่ดีขึ้นทุกสัปดาห์
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ คือ ด้านการสังเกต หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมโดยมีค่าความแตกต่างที่ร้อยละ 57.40 ด้านการจำแนกประเภทหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม โดยมีค่าความแตกต่างที่ร้อยละ 62.60 ด้านการสื่อความหมายหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมโดยมีค่าความแตกต่างที่ร้อยละ 61.40 ด้านการลงความเห็นหลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมโดยมีค่าความแตกต่างที่ร้อยละ 61.20 และในภาพรวมก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยรวม 1.90 คิดเป็นร้อยละ 38.00 หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยรวม 4.93 คิดเป็นร้อยละ 98.65 และมีค่าความแตกต่างเฉลี่ยรวม 3.03 คิดเป็นร้อยละ 60.65 ซึ่งมีความแตกต่างกันในทางที่ดีขึ้นเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้