ผลงานวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practices) การแปรรูปอาหาร
ชื่อผลงาน : การแปรรูปอาหาร เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน
ด้านที่ ๓ : ด้านการส่งเสริมอาชีพ
โรงเรียน : สังวาลย์วิทย์ ๑ ตำบลถ้ำเจริญ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ
สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
รายชื่อผู้เสนอผลงาน : นางสุกัญญา แสงมณี
โทรศัพท์มือถือ : ๐๘๙-๙๙๑๘๔๕๑
E-mail : suganya๒๕๒๐@outlook.com
บทคัดย่อ
แนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การแปรรูปอาหาร เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อมีความรู้ ความเข้าใจ ขั้นตอนการแปรรูปอาหารและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ๒) เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางประกอบอาชีพในอนาคต ๓) เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ๔) เพื่อให้นักเรียนฝึกการทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ดำเนินการโดยมีกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ด้านการส่งเสริมอาชีพ ได้ดำเนินการดังนี้ ๑) ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชน ๒) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดทำผลิตภัณฑ์การแปรรูปโดยวิทยากรผู้ชำนาญในชุมชน ๓) ลงมือปฏิบัติ และออกแบบบรรจุภัณฑ์ ประมาณราคา๔) จัดจำหน่ายสินค้าที่ทำการแปรรูป เก็บเงิน และจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ๕) ส่งผลิตภัณฑ์เข้าสู่ สหกรณ์โรงเรียน ร้านค้าชุมชน ๖) พัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีและได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ๗) สรุปผลการดำเนินงาน กำไร ขาดทุน จากการดำเนินการ การแปรรูปอาหาร เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของนักเรียน
สรุปผลการดำเนินการ ได้ดังนี้ ๑) นักเรียนสามารถเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ โดยการปฏิบัติจริง ๒) นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติงานจริง โดยการคิดและวิเคราะห์ได้ ๓) นักเรียนเข้าใจกระบวนการผลิต การวางแผนการตลาด และการวิเคราะห์ความต้องการของท้องตลาด ๔) นักเรียนสามารถวางแผนการเรียนรู้การผลิต ตลอดจนกระบวนการดำเนินงาน ด้านรายได้ การเก็บรายได้ เพื่อที่จะได้นำไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น ๕) ผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของตลาด ๖) ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแปรรูปอาหาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยีของนักเรียน ระดับชาติ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ๗) ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแปรรูปอาหาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑-๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ ๖๙ ปีการศึกษา๒๕๖๒ ณ จังหวัดศรีสะเกษ
ที่มาและความสำคัญ
โรงเรียนสังวาลย์วิทย์ ๑ ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยสะอาดหมู่ที่ ๔ ตำบลถ้ำเจริญ อำเภอ โซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๐๘ เดิมเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๙ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโรงเรียนและพระราชทานนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนสังวาลย์วิทย์ ๑” ซึ่งโรงเรียนสังวาลย์วิทย์ ๑ เป็นโรงเรียนในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินงานจำนวน ๒ โครงการ คือโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร และโครงการด้วยรักและห่วงใย โดยทั้งสองโครงการจะมุ่งพัฒนานักเรียนในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ ด้านภาวะทุพโภชนาการ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน การฝึกทักษะอาชีพ การส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับบปรับปรุง ๒๕๖๑) เปิดสอนรายวิชาเพิ่มเติม ทักษะอาชีพ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน ประกอบกับบ้านนักเรียนปลูกมะละกอเกือบทุกบ้าน โรงเรียนสังวาลย์วิทย์ ๑ จึงมีแนวคิดที่จะนำมะละกอมาแปรรูปเพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีรายได้เพิ่มขึ้น ฝึกการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายตนเอง อีกทั้งผู้ปกครองยังได้ฝึกการจัดทำบัญชีครัวเรือนอีกด้วย และยังส่งผลให้นักเรียนเข้าแข่งขันในกิจกรรมทักษวิชาการ ได้รับรางวัลในระดับชาติ การแปรรูปอาหาร เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์มะละกอและยังเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นและในธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดบริบทของชุมชนมีอาชีพทางการเกษตรโดยการทำสวนยางพาราเป็นส่วนใหญ่ รายได้ไม่แน่นอน บางปีแห้งแล้ง ทำให้น้ำยางพาราออกมาปริมาณน้อย ราคายางพาราตกต่ำ ส่งผลกระทบถึงค่าครองชีพของผู้ปกครอง นักเรียนขาดเรียนบ่อย ทำให้ผลการเรียนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนสังวาลย์วิทย์ ๑ เข้าร่วมเป็นโครงการในโรงเรียนพระราชดำริ และดำเนินการตามแนวปฏิบัติเรื่อยมา โดยการบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เลือกกิจกรรมให้เหมาะกับบริบทของชุมชน บนพื้นฐานแนวคิดการแก้ปัญหาความขาดแคลนของนักเรียน หารายได้ระหว่างเรียน ด้วยการศึกษาวิธีการถนอมอาหารโดยการแปรรูป ด้วยการศึกษาจากเอกสารและผู้รู้ในชุมชนมาเป็นแนวทางการจัดการ การทดลองทำ การแปรรูปอาหารมีหลายแบบ การแปรรูปอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหารถนอมรักษาคุณภาพอาหารด้านต่างๆ ของอาหารให้ใกล้เคียงของสดซึ่งปัญหาดังกล่าว ทางโรงเรียนสังวาลย์วิทย์ ๑ คาดหวังว่าสามารถสร้างรายได้ระหว่างเรียนให้กับนักเรียนได้ พร้อมทั้งปลูกฝังให้นักเรียนนำความรู้ไปประกอบอาชีพในอนาคตได้ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และส่งเสริมให้นักเรียนฝึกการเขียนบัญชีรายรับ – รายจ่าย ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อมีความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนการแปรรูปอาหาร และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
๒. เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางประกอบอาชีพในอนาคตได้
๓. เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
๔. เพื่อให้นักเรียนฝึกการทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย
เป้าหมาย
นักเรียนโรงเรียนสังวาลย์วิทย์ ๑ สามารถมีรายได้เสริมระหว่างเรียน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
เชิงปริมาณ
๑. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ จำนวน ๖๒ คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแปรรูปอาหารได้
๒. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ จำนวน ๖๒ คน สามารถมีรายได้สริมระหว่างเรียนได้
๓. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ จำนวน ๖๒ คน สามารถทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ได้
เชิงคุณภาพ
๑.นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มคณะ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแปรรูปอาหารสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างรายได้ให้แก่นักเรียน ตลอดจนชุมชน และผู้ที่สนใจ นำความรู้ไปประกอบอาชีพในอนาคตได้
๒. นำผลผลิตการแปรรูปจำหน่ายในร้านค้าสหกรณ์โรงเรียนและชุมชนได้
กระบวนการดำเนินงาน
แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการส่งเสริมอาชีพ ได้ดำเนินการดังนี้
๑. ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชน
๒. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดทำผลิตภัณฑ์การแปรรูปโดยวิทยากรผู้ชำนาญในชุมชนลง
๓. มือปฏิบัติ และออกแบบบรรจุภัณฑ์ ประมาณราคา
๔. จัดจำหน่ายสินค้าที่ทำการแปรรูป เก็บเงิน และจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
๕. ส่งผลิตภัณฑ์เข้าสู่ สหกรณ์โรงเรียน ร้านค้าชุมชน
๖. พัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีและได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
๗. สรุปผลการดำเนินงาน กำไร ขาดทุน
กระบวนการดำเนินงาน
ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชน
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดทำผลิตภัณฑ์การแปรรูปโดยวิทยากรผู้ชำนาญในชุมชน
ลงมือปฏิบัติ และออกแบบบรรจุภัณฑ์ ประมาณราคา
จัดจำหน่ายสินค้าที่ทำการแปรรูป เก็บเงิน และจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
ส่งผลิตภัณฑ์เข้าสู่ สหกรณ์โรงเรียน ร้านค้าชุมชน
พัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีและได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
สรุปผลการดำเนินงาน กำไร ขาดทุน
ผลการดำเนินงานและประโยชน์ที่ได้รับ
ผลการดำเนินงาน
๑. นักเรียนสามารถเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ โดยการปฏิบัติจริง
๒. นักเรียนเข้าใจกระบวนการผลิต การวางแผนการตลาด และการวิเคราะห์ความต้องการของท้องตลาด
๓. นักเรียนสามารถวางแผนการเรียนรู้การผลิต ตลอดจนกระบวนการดำเนินงาน ด้านรายได้ การเก็บรายได้ เพื่อที่จะได้นำไปต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น
๔. ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแปรรูปอาหาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยีของนักเรียน ระดับชาติ ปีการศึกษา ๒๕๖๑
๕. ได้รับรางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแปรรูปอาหาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ ๖๙ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ณ จังหวัดศรีสะเกษ
ประโยชน์ที่ได้รับ
๑. นำพืชผักผลไม้ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่า โดยการนำมาแปรรูปเพื่อให้เก็บรักษาได้นานขึ้น
๒. นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน สามารถนำไปประกอบอาชีพในอนาคตได้
๓. นักเรียนสามารถพัฒนา ปรับปรุง วางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง