การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพุทธสาวกชาดกและพุทธศาสนิกชน
ผู้ศึกษา นางชนัญญ์ทิชา ไร่เจริญทรัพย์
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พุทธสาวก ชาดกและ พุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วย เทคนิค STAD โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พุทธสาวก ชาดกและ พุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วย เทคนิค STAD เทียบกับเกณฑ์เป้าหมายของโรงเรียนที่ก าหนดไว้ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มและ มีจ านวน นักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกศึกษาปีที่ 6/3 จ านวน 27 คน โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) สังกัดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน อ าเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการจับฉลากมา 1 ห้องเรียนจากจ านวน 5 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พุทธสาวก ชาดกและ พุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค STAD และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.)
ผลการศึกษา พบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พุทธสาวก ชาดกและพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ใช้เกณฑ์ผ่านให้มีคะแนน ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 30 คะแนน คือ 21 คะแนน มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป จ านวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 92.59 ของจ านวนนักเรียนทั้งหมด 2. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในด้านบทบาทของครู บทบาทผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัด ประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.56, S.D. อยู่ระหว่าง .21-.28)