LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล
        11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้วิจัย        นางธนพร แก้วชารุณ
        ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี
จังหวัดอุดรธานี

ปีที่วิจัย        2561

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎี และสภาพการณ์การบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยการเก็บข้อมูลจากการสังเกตและเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ปฏิบัติงานจริง เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และกำหนดองค์ประกอบของร่างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เป็นการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ ด้านการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์เป็นผู้บริหารสถานศึกษาหรือเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงานส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน หรือมีผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาการบริหารการศึกษาหรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 3 รอบ คือ รอบที่ 1 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑๑ หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีและนำข้อมูลมาวิเคราะห์สังเคราะห์จัดทำเป็นแบบสอบถามรอบที่ 2 เกี่ยวกับกิจกรรมการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ ของการดำเนินงาน
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ในลักษณะประเมินค่า 5 ระดับ แล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็น
และนำมาคำนวณค่ามัธยฐาน (Median) ใช้เกณฑ์การพิจารณากิจกรรมการบริหารจัดการเพื่อนำไปกำหนดรูปแบบที่เหมาะสม กำหนดให้กิจกรรมที่มีค่ามัธยฐาน ตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range) ไม่เกิน 1.50 นำมาสร้างแบบสอบถาม รอบที่ 3 โดยใช้ข้อความเดิมแต่เพิ่มค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และคำตอบของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ทบทวนคำตอบในแต่ละข้อและใช้เกณฑ์เดิมในการพิจารณากิจกรรมเพื่อนำไปกำหนดรูปแบบที่เหมาะสม เมื่อดำเนินการครบทั้ง 3 รอบ แล้วจึงสรุปรูปแบบการบริหารจัดการตามการดำเนินงานแต่ละด้านของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑๑ หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบ คือ ผู้บริหารของสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี หัวหน้างานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี และผู้บริหารสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิดและทฤษฎีทางการบริหารจัดการ และแนวคิดการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ พบว่า แนวคิดกระบวนการบริหารจัดการ ของรอบบินส์; และคูลเตอร์ (Robbins; & Coulter. 2009: 23-24) ที่ประกอบด้วย การวางแผนการจัดองค์กรการชี้นำ และการควบคุม (POLC) มาเป็นกรอบในการศึกษาข้อมูลสภาพการณ์การบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑๑ หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยยึดแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรอบในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับการประเมินรับรองตามเกณฑ์และมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล ๑๑ หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
2.1 การบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล ๑๑ หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี มีองค์ประกอบในการดำเนินงานจำนวน 7 ด้านและมีกระบวนการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 1) การวางแผน 2) การจัดองค์กร 3) การนำและ 4) การควบคุม ของแต่ละองค์ประกอบการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับ
ประถมศึกษาโดยมีกิจกรรมในการบริหารจัดการรวมทั้งหมด 87 กิจกรรม จำแนกตามองค์ประกอบ ดังนี้
2.1.1 ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ มีกิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 16 กิจกรรม
2.1.2 ด้านการบริการอนามัยโรงเรียน กิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 16 กิจกรรม
2.1.3 ด้านสุขศึกษาในโรงเรียนกิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 11 กิจกรรม
2.1.4 ด้านโภชนาการอาหารที่ปลอดภัย กิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 14 กิจกรรม
2.1.5 ด้านการออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการกิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 11 กิจกรรม
2.1.6 ด้านการให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคมกิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 10 กิจกรรม
2.1.7 ด้านการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรกิจกรรมการบริหารจัดการ จำนวน 9 กิจกรรม
2.2 ผลการหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยควอไทล์ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อ กิจกรรมการบริหารจัดการในแต่ละด้านของการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับประถมศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการบริหารจัดการอยู่ในระดับสูง มีค่ามัธยฐาน เท่ากับ 5.00
3. การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
3.1 ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 11 หนองหิน สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานีด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3.2 ผลการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงคุณภาพกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำไปใช้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก



ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^