การประเมินโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program)
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C) ที่เกี่ยวกับความต้องการจ าเป็น เพื่อก าหนดโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยน าเข้า (Input Evaluation: I) ที่เกี่ยวกับทรัพยากรที่จ าเป็นน ามาใช้ในการด าเนินการโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย มีความเป็นไปได้ เหมาะสม และเพียงพอ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) ที่เกี่ยวกับการบริหารโครงการ หลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation: P) ที่เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นจากโครงการหลักสูตร สองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย เป็นไป ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และ 5) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของโครงการหลักสูตร สองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย โดยใช้รูปแบบ การประเมินโครงการแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จ านวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จ านวน 15 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จ านวน 1 คน คณะครูในโรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จ านวน 60 คน รวมทั้งสิ้น 78 คน นักเรียนชาย-หญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จ านวน 584 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จ านวน 584 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จ านวน 3 คน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 จ านวน 1 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จ านวน 102 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 จ านวน 70 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จ านวน 102 คน และผู้ปกครอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จ านวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จ านวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น การประเมินโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C) 2) แบบสอบถาม ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินโครงการหลกัสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย ด้านปัจจัยน าเข้า (Input Evaluation: I) 3) แบบสอบถาม ฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย ด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) และ 4) แบบสอบถาม ฉบับที่ 4 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินโครงการหลักสูตร
สองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย ด้านผลผลิต (Product Evaluation: P) ผลการประเมิน พบว่า 1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation: C) ของโครงการหลักสูตร สองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย พบว่า โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, = 0.31) และผ่านเกณฑ์การประเมิน ( 3.51) 2. ผลการประเมินด้านปัจจัยน าเข้า (Input Evaluation: I) ของโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย พบว่า โดยรวมมีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48, = 0.40) และผ่านเกณฑ์การประเมิน ( 3.51) เมื่อ พิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่า ด้านคุณลักษณะที่เหมาะสมของครูผู้สอน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 4.54, = 0.40) รองลงมา คือ ด้านคุณภาพ ความเพียงพอของสื่อ/อุปกรณ์/อาคาร สถานที่/แหล่งเรียนรู้ ( = 4.50, = 0.41) ด้านคุณลักษณะที่เหมาะสมของนักเรียน ( = 4.44, = 0.40) และด้านความคิดเห็นด้านปัจจัยน าเข้า (Input Evaluation: I) มีค่าเฉลี่ยต่ าที่สุด ( = 4.43, = 0.40) 3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) ของโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัด พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.40, = 0.37) และผ่านเกณฑ์การประเมิน ( 3.51) เมื่อ พิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นด้านการบริหารโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 4.47, = 0.42) รองลงมา คือ การบริหารหลักสูตรสองภาษา (MEP : Mini English Program) ( = 4.33, = 0.33) 4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation: P) ของโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย พบว่า โดยรวมมีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X = 3.85, S.D. = 0.19) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (X 3.51) เมื่อ พิจารณาผลการประเมินรายด้าน พบว่า ด้านผลกระทบจากการด าเนินงานตามโครงการหลักสูตร สองภาษา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X = 3.97, S.D. = 0.12) รองลงมือ คือ ด้านผลที่เกิดกับนักเรียน (X = 3.77, S.D. = 0.26) 5. ผลการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของโครงการหลักสูตรสองภาษา (MEP: Mini English Program) โรงเรียนเทศบาล ๗ ฝั่งหมิ่น จังหวัดเชียงราย 5.1 ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ พบว่า ควรมีการชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องตระหนักถึง ความต้องการของโครงการ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการคิดโครงการหรือมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็น สร้างความเข้าใจให้กับผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดท าโครงการให้ตรงกับ ความต้องการของชุมชน มีจุดแสดงผลงานให้นักเรียนได้แสดงผลงานและจุดเรียนรู้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ มีกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ออกไปฝึกการใช้ภาษานอกโรงเรียน มีการจัดสรรบุคลากรที่เป็นเจ้าของภาษา ให้เพียงพอต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มีการจัดโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อสานต่อการพัฒนา ด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เข้าโครงการ การจัดกิจกรรมต่างๆ ควรค านึงถึงวัยของนักเรียนในแต่ละ
ระดับชั้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย เน้นนักเรียนเป็นส าคัญ ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง การจัดท าโครงการต้องมีความสอดคล้องกับบริบทต่างๆ และมีขั้นตอนการประเมินโครงการ รวมถึง ทราบความต้องการจา เป็นของโครงการทั้งในด้านประโยชน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และขั้นตอน การด าเนินกิจกรรมเพื่อจะได้เตรียมการด าเนินงานตามแผนงานของโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2 ด้านปัจจัยน าเข้าของโครงการ พบว่า ควรมีเกณฑ์ในการจัดสรรบุคลากรที่มี คุณภาพให้เพียงพอต่อความต้องการของหลักสูตรและมีมาตรฐานการคัดเลือก สร้างขวัญก าลังใจให้ บุคลากรให้รักองค์กร มีการจัดอบรมให้บุคลากรและท ากิจกรรมร่วมกัน มีกฎระเบียบที่เคร่งครัด และควรให้ครูชาวต่างชาติท าแผนการเรียนการสอนเพื่อตรวจสอบการสอน มีการศึกษาดูงานโรงเรียน สองภาษา มีการจัดสรรงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ที่เพียงพอ และใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสอน มีระบบ การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตที่ครอบคลุมพื้นที่ทุกส่วนในโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมการ ปฏิบัติงานของครูและการเรียนรู้ของนักเรียน มีการบริหารจัดการที่เป็นขั้นตอนและชัดเจน มีการ ประชุมชี้แจงหลักสูตรในการท ากิจกรรม การวางแผนการบริหารจัดการ ขอบเขตการท างาน บริบทการ ท างานอย่างสม่ าเสมอ จ านวนนักเรียนต่อห้องควรมีความเหมาะสมกับจ านวนครูผู้สอนเพื่อที่จะได้ สอนได้อย่างทั่วถึง และการแต่งตั้งคณะท างานและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบต้องมีความเป็นระบบและ ชัดเจน 5.3 ด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า ควรเน้นการวางแผนงานอย่างมีระบบร่วมกัน ทุกภาคส่วน โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการ เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการ ออกแบบกิจกรรม สร้างแรงจูงใจในการท างานของบุคลากร จัดให้มีการอบรม การปรับแผนการเรียนรู้ ทุกปีการศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน ควรสรรหาบุคลากรครูชาวต่างชาติที่มีคุณภาพมาสอน มีการประชุม วางแผนร่วมกันระหว่างครูไทยกับครูชาวต่างชาติเพื่อวางแผนเป้าหมาย ก าหนดทิศทาง การจัดการศึกษา หลักสูตรสองภาษาอย่างเป็นรูปธรรม มีการวางแผนล่วงหน้าก่อนเปิดภาคเรียน มีการประชาสัมพันธ์ และจัดท าแผนการปฏิบัติการต่างๆ ล่วงหน้า มีแผนงานส ารองที่สามารถยืดหยุ่นเรื่องเวลา มีการนิเทศ ติดตามการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นเสริมแรงในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และสามารถแก้ไข ข้อบกพร่องต่างๆ ทั้งในด้านแผนการเรียนรู้และผู้สอน ในขณะที่ด้านการสรุปรายงานผลการด าเนินงาน ควรมีการเปิดเผยข้อมูลงานกิจกรรม สรุปรายงานผล มีการประชุมชี้แจงงานเป็นระยะๆ และหลังจาก เสร็จสิ้นโครงการควรเร่งด าเนินการรายงานผลการด าเนินงานต่อผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานต้นสังกัด 5.4 ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า ได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ สู่ความเป็นเลิศอยู่ในระดับที่ดีมาก นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ อยู่ในระดับที่ดีมาก นักเรียน ครู และบุคลากรได้ฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ดังนั้นจึงสมควร ด าเนินโครงการอย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาถัดไป และสามารถน าผลการประเมินโครงการไปเป็นแนวทาง ในการด าเนินงานโครงการหลักสูตรสองภาษา และสามารถเผยแพร่ผลการด าเนินงานโครงการต่อไป