การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย นายชุมพล น้อยถนอม
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางการจัดการเรียนการสอน วิชาพระพุทธศาสนา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อหาคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการจัดการเรียนการสอน วิชาพระพุทธศาสนา ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แบบประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t (t-Distribution)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สรุปปัญหา อุปสรรค และแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ดังนี้
1. ด้านกระบวนการเรียนรู้
1. ปัญหาอุปสรรคการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาคือผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
น้อย เนื่องจากครูใช้วิธีการสอนที่ไม่ค่อยเป็นระบบ นักเรียนมีประสบการณ์จากการเรียนรู้ วิชา
พระพุทธศาสนาน้อย รองลงมา มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนน้อย
2. แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา คือ ครูควรใส่ใจในการสอนให้มากขึ้น ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ที่หลากหลาย น่าสนใจน่าตื่นเต้นและดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ เช่น การใช้สื่อ ครูควรสอนโดยเรียงลำดับเนื้อหาให้มีความเชื่อมโยงกัน และควรจัดการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. ด้านกระบวนการเรียนรู้
1. ปัญหาอุปสรรคการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา คือ สื่อและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการจัดการเรียนไม่มีคุณภาพ เช่น การใช้ภาพนิ่ง การนำสื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ประโยชน์ยังไม่มากเท่าที่ควร การเข้าถึงสื่อของผู้เรียนมีค่อนข้างจำกัด และขาดแคลนเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการเรียนการสอน อุปกรณ์การเรียนไม่เพียงพอสำหรับผู้เรียน
2. แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาคือการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา นอกจากใช้สื่อที่ทันสมัย ใช้ของจริงและธรรมชาติแล้ว สื่อควรมีกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ผู้เรียนสามารถใช้ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองตามความสนใจโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ทั้งในและนอกห้องเรียน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีได้สะดวกมากขึ้น
3. ด้านกิจกรรมการเรียนรู้
1. ปัญหาอุปสรรคการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา คือ กิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนมีค่อนข้างน้อยส่วนมากมีเพียงการเรียนในห้องเรียนเท่านั้น นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนน้อย และขาดกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่ได้เรียนมา จึงทำให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา น้อย
2. แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา คือ ควรมีกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนเพิ่มขึ้น ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น ใช้สื่อที่ส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล กล่าวคือให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจและความสามารถของแต่ละบุคคล ได้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ และทำกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจ เป็นประโยชน์กับการเรียนการสอน และเน้นกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่ได้เรียนมา
4. ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
1. ปัญหาอุปสรรคการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา คือ การแจ้งผลการทดสอบมีความล่าช้า การวัดผลและประเมินผลเน้นเพียงบางส่วนของเนื้อหาวิชา เท่านั้น การทดสอบ มีความยากเกินไป และการสอบซ่อมเสริมมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและล่าช้า
2. แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา คือ ใช้กระบวนการวัดผลและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำผลการประเมินมาปรับปรุงตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาและค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเองผลทดสอบต้องแล้วเสร็จตามวันและเวลาที่กำหนด การสอบซ่อมเสริมควรมีขั้นตอนที่สะดวกและรวดเร็ว ควรมีการ วัดผลและประเมินผลให้ครอบคลุมตลอดทั้งเนื้อหาวิชา ควรออกข้อสอบให้เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน และควรมีการทดสอบโดยเน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.71 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49
3. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 85.94/88.84 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
4. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อยู่ในระดับมาก