การพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสาวศรัญญา พานุราช
ตำแหน่งครู ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สำนักการศึกษาศาสนาและ
วัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลแบบฝึกทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึก
ทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 16 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีจับฉลากโดยมีหน่วยสุ่มเป็นห้องเรียน ทำการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ระยะเวลา 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบฝึกทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรการศึกษาพุทธศักราช 2551 จำนวน 8 ชุดที่มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.33/81.67 แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ จำนวน 10 แผน ที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78
แบบทดสอบย่อยระหว่างเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 8 ฉบับ
ฉบับละ 10 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.46-0.77 อำนาจจำแนก ( B ) ตั้งแต่ 0.41 ถึง 0.74 จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ( rcc) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.67 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ
การทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษา ปรากฏผล ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ สาระ
ทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เท่ากับ 82.28/83.13
2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทัศนธาตุพื้นฐานการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ผลการวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลแบบฝึกทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชุดที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.7812
ชุดที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.7900 และชุดที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.7128 ชุดที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.7692
ชุดที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7238 และชุดที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.7619 1 ชุดที่ 7 มีค่าเท่ากับ 0.7314 และชุดที่ 8 มีค่าเท่ากับ 0.8627 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นทุกชุด
4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ที่มีต่อ
การเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ สาระทัศนศิลป์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.31 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีระดับความพึงพอใจในระดับมากถึงระดับมากที่สุด
ในทางบวกทุกข้อ