การพัฒนาชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษาฯ
ผู้วิจัย นางสาวเมธาพร สุขจิตร
หน่วยงาน โรงเรียนโยธินนุxxxล เทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ตำนานอาหารพื้นบ้านโคราช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และดัชนีประสิทธิผล ไม่ต่ำกว่า 0.50 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้ชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ตำนานอาหารพื้นบ้านโคราช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ตำนานอาหารพื้นบ้านโคราช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโยธินนุxxxล ที่ศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ตำนานอาหารพื้นบ้านโคราช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ตำนานอาหารพื้นบ้านโคราช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ตำนานอาหารพื้นบ้านโคราช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ตำนานอาหารพื้นบ้านโคราช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 6 ชุด พบว่าชุดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 87.35/87.76 เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ E1/E2 ที่กำหนดไว้และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.72 เปรียบเทียบกับเกณฑ์ 0.50 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนโดยการใช้ชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ตำนานอาหารพื้นบ้านโคราช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 87.76 เทียบกับเป้าหมายที่กำหนดเฉลี่ยร้อยละ 80 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง เรียนรู้ตำนานอาหารพื้นบ้านโคราช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก