การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้ว
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการร่วมมือเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการร่วมมือเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการร่วมมือเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และ 4) ประเมิน ความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการร่วมมือเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กบินทร์บุรี จำนวน 32 คน และนักเรียนจำนวน 318 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินทักษะ แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครู และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญด้วยการร่วมมือเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเชิงบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ใน การปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
2. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วย การร่วมมือเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า PLIK Model นำไปดำเนินการพัฒนาครูโดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายในเพื่อวัดทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบร่วมมือเชิงบูรณาการ ปรากฏว่า มีความเหมาะสมเป็นไปได้
3. ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการร่วมมือ เชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้มีการนำรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการและ การนิเทศภายในไปใช้ในการดำเนินงานให้แก่ครู ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเชิงบูรณาการได้ดังผลการทดลองใช้อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.87, S.D. = 0.38) และหลังการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ( = 4.26, S.D. = 0.36) ผลการเปรียบเทียบการทดลองก่อน - หลัง การดำเนินการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินความพึงพอใจและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการร่วมมือเชิงบูรณาการของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ปรากฏว่า ครูและนักเรียนมีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = 0.42)