การประเมินโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์ “บริการวิชาชีพและบริการชุมชน”
บริการชุมชน” วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม
ผู้ประเมิน สิบเอกนิรันดร์ เล้าเจริญ
หน่วยงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม สังกัดเทศบาลนครนครปฐม.
ปีที่รายงาน 2562
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์ “บริการวิชาชีพและบริการชุมชน” วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต (2) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์ “บริการวิชาชีพและบริการชุมชน” วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม โดยใช้รูปแบบการประเมินซิป โมเดล (CIPP Model) กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครองของนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 คน ครูผู้สอนเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 63 คน นักเรียน นักศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 254 คนและผู้ปกครองของนักเรียน นักศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 254 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นxxxส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) และวิธีการสุ่มตัวอย่าง (Sample Random Sampling) ใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่ผู้ประเมินได้สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 5 ชุด ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมทั้งสิ้นจำนวน 76 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. โครงการส่งเสริมอัตลักษณ์ “บริการวิชาชีพและบริการชุมชน” วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม ตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ (1) ผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านผลผลิต ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ (2) ครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต (3) นักเรียน นักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต (4) ผู้ปกครองของนักเรียน นักศึกษา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก
2. ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์ “บริการวิชาชีพและบริการชุมชน” วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม ตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ (1) ผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ข้อ ส่วนข้ออื่นอยู่ในระดับมาก (2) ครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก (3) นักเรียน นักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก (4) ผู้ปกครองของนักเรียน นักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมาก