เผยแพร่ผลงานวิชการ
ผู้รายงาน : นายพรศักดิ์ ทิพย์วงษ์ทอง
ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2560-2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้“WINAI MODEL” โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จังหวัดระยองปีการศึกษา 2560-2561 2) เพื่อศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ครอบคลุมวินัย 5 ด้านได้แก่ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ จิตอาสา และความพอเพียง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 3) เพื่อศึกษาคุณภาพผู้เรียนของนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 จำแนกเป็น 3.1) ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 3.2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 3.3) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้ “WINAI MODEL” โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จังหวัดระยอง ปีการศึกษา 2560-2561
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย นักเรียนปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 จำนวน 335 คน ครู ปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 จำนวน 102 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 จำนวน 335 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 จำนวน 13 คน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2560 และปีการศึกษา 2561 จำนวน 27 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลรวมทั้งสิ้น จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรฐานส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ แบบสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความมีวินัยในตนเองของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง จำนวน 4 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง .973-.987 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows. V. 18
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล คุณภาพการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้“WINAI MODEL” โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จังหวัดระยอง ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน พบว่า
ปีการศึกษา 2560 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.80 , S.D. = 0.35) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน ( = 3.68 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมาก และกลุ่ม ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มเครือข่ายชุมชน ( = 3.59 , S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2561 โดยรวมทุกกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.70 , S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.62 , S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มครู ( = 4.53 , S.D. = 0.42) อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความมีวินัยในตนเองของนักเรียนที่เกิดจากการใช้ “WINAI MODEL” โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง พบว่า
ปีการศึกษา 2560 โดยรวมทั้งสองกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.66 , S.D. = 0.67) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 3.65 , S.D. = 0.67) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2561 โดยรวมทั้งสองกลุ่มผู้ประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มครู และกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.53, S.D. = 0.67 และ 0.64) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น
3.1 ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ 1-6 โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 พบว่า ปีการศึกษา 2560 โดยรวม มีคะแนนเฉลี่ย GPA = 2.68 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 67.25 และเมื่อพิจารณาแยกเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ย GPA สูงสุด GPA= 2.92 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 73.00 รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม GPA = 2.91 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 72.75 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีคะแนนเฉลี่ย GPA ต่ำสุด = 2.36 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 59.00
ปีการศึกษา 2561 โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ย GPA = 2.76 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 68.95 เมื่อพิจารณาแยกเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีคะแนนเฉลี่ย GPA สูงสุด GPA= 3.04 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 76.00 รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย GPA= 2.92 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 73.00 ส่วนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย GPA ต่ำสุด GPA= 2.48 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 62.00
3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 พบว่า
ปีการศึกษา 2560 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โดยรวมคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.02 เมื่อพิจารณาแยกเป็นกลุ่มสาระที่ทดสอบ พบว่า กลุ่มสาระภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุด = 50.31 รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 31.51 ส่วนกลุ่มสาระที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ได้แก่ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 24.37
ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 31.43 เมื่อพิจารณาแยกเป็นกลุ่มสาระที่ทดสอบ พบว่า กลุ่มสาระภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุด = 49.48 รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.31 ส่วนกลุ่มสาระที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ได้แก่ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 20.12
ปีการศึกษา 2561 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โดยรวมคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 37.02 เมื่อพิจารณาแยกเป็นกลุ่มสาระที่ทดสอบ พบว่า กลุ่มสาระภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุด = 55.09 รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 36.00 ส่วนกลุ่มสาระที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ได้แก่ กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 28.28
ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.07 เมื่อพิจารณาแยกเป็นกลุ่มสาระที่ทดสอบ พบว่า กลุ่มสาระภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุด = 46.46 รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.75 ส่วนกลุ่มสาระที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ได้แก่ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 28.01
แสดงให้เห็นว่า ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร หลังการพัฒนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (เพิ่มขึ้น +3) ส่วนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (เพิ่มขึ้น +2.64) สอดคล้องตามสมมติฐาน
3.3 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จังหวัดระยอง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2560-2561 พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป หลังการพัฒนาทั้ง 2 ปีการศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละมากกว่า ร้อยละ 90 ทั้ง 8 ประการ โดยปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าปีการศึกษา 260 ทั้ง 8 ประการ และเมื่อพิจารณา ค่าพัฒนา พบว่า คุณลักษณะความพอเพียง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด +5.41 รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะมุ่งมั่นในการทำงาน +4.92 ส่วนคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ มีค่าพัฒนาต่ำสุด +3.29 สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้ “WINAI MODEL” โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จังหวัดระยอง หลังการพัฒนา พบว่า
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.67 , S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 3.64 , S.D. = 0.58) อยู่ในระดับมาก และกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครู ( = 3.52 , S.D. = 0.64) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.64 , S.D. = 0.49) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มเครือข่ายชุมชน ( = 4.63 , S.D. = 0.62) อยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มครู ( = 4.55 , S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 ด้านการสร้างองค์ความรู้สถานศึกษาควรให้ความรู้ และทำความเข้าใจกับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่าย ชุมชน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ถึงแนวทางการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้ “WINAI MODEL” ครอบคลุมวินัยในตนเอง 5 ด้าน ได้แก่ ความมีวินัยความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์จิตอาสา และอยู่อย่างพอเพียง เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนให้สอดคล้องกับภารกิจ และบทบาทหน้าที่ของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาความมีวินัยในตนเองทั้งที่โรงเรียน บ้าน ชุมชน และสังคมที่เด็กได้อยู่อาศัย
1.2 ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีในส่วนของครู ครูจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียนทั้งด้านการวางแผน และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยบูรณาการการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน และมีการประเมินผลตามสภาพจริง เพื่อให้นักเรียนมีวินัยในตนเองสู่ความยั่งยืน
1.3 หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการตรวจสอบพฤติกรรมหรือคุณลักษณะความมีวินัยในตนเองของนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความยั่งยืน หรือความคงทนถาวรของความมีวินัยในตนเอง และมีการทบทวนกิจกรรมต่างๆ เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของชุมชน สังคม และนโยบายแห่งรัฐ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนสู่ความยั่งยืน
2.2 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความมีวินัยในตนเองของนักเรียนกับคุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.3 ควรศึกษาผลกระทบของความมีวินัยในตนเองของนักเรียนที่มีต่อชุมชน และสังคมโดยรอบสถานศึกษา