การพัฒนารูปแบบการการนิเทศโดยการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูฯ
ผู้วิจัย นางพัชรินทร์ ชัยจันทร์
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง เป็นการวิจัยและพัฒนา (Resench Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาการรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทาง การศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง 3) เพื่อทดลองการใช้รูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง และ4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง โดยการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียน ควรมีแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันและมีการศึกษาอย่างแท้จริงเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ และการศึกษาความต้องการของครูในโรงเรียนเกี่ยวกับการนิเทศภายใน เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นที่นำไปสู่การกำหนดทางเลือกในการปฏิบัติ ผู้บริหารควรรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของคณะครูเพื่อให้เกิดการพัฒนางานนิเทศภายใน นอกจากนี้การนำข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ มาใช้วางแผนการนิเทศภายใน เป็นสิ่งที่โรงเรียนควรปฏิบัติ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการนิเทศภายใน โดยให้คณะครูได้มีส่วนร่วมในการวางแผน ในส่วนของการสรุปผลการวางแผนและการกำหนดทางเลือกในการนิเทศภายใน ควรมีการสรุปผลทุกครั้งที่มีการวางแผนและมีการจดบันทึกไว้เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการวางแผนครั้งต่อไป อีกทั้งครูควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือการนิเทศภายใน เพื่อให้การปฏิบัติงานนิเทศภายในเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ คณะครูสามารถทำได้หลากหลายวิธี ที่จะทำให้คณะครูเกิดการเรียนรู้และเกิดความเข้าใจมากขึ้น สำหรับการปฏิบัติงานนิเทศภายในควรปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นไปตามระบบและกระบวนการนิเทศภายใน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการส่งเสริมการปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับการปฏิบัติงานนิเทศภายในโดยมีบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย จะทำให้คณะครูมีความสุขในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้นและปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเต็มความสามารถ และทำให้การปฏิบัติงานยังคงเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ด้วย ในส่วนการประเมินผลการนิเทศภายในโดยใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้น เป็นการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่มีความถูกต้อง เพราะข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องมือในการประเมินผล เป็นข้อมูลที่มาจากความเป็นจริง สามารถนำผลที่ได้จากการประเมินมาแก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาการปฏิบัติงานนิเทศภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการของครูเกี่ยวกับการนิเทศภายใน ควรรับฟังความต้องการของครูมากขึ้น ควรนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนและให้คณะครูได้มีส่วนร่วมในการวางแผนเพื่อให้เกิดความชัดเจนและครอบคลุมในการปฏิบัติงาน ควรมีการสรุปผลและจดบันทึกทุกครั้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนครั้งต่อไป ควรมีการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือการนิเทศภายในให้แก่คณะครูด้วยวิธีการที่หลากหลาย ควรมีการสร้างความตระหนักในการปฏิบัติตามขั้นตอน ควรเน้นการสร้างบรรยากาศให้มีความยุติธรรม ควรนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นมาใช้ในการประเมินผล เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานนิเทศภายในให้ดีขึ้นกว่าเดิม และ ควรมีการรายงานผลการประเมินตามสภาพที่เป็นจริง
2. ผลการออกแบบและพัฒนาการรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทาง การศึกษาเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ตามแนวคิดของ ดร. สงัด อุทรานันท์ เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง มีองค์ประกอบได้แก่หลักการ คือ การนิเทศการสอนเน้นกระบวนการนิเทศที่เป็นระบบ สัมพันธ์กัน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของรูด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะที่สำคัญที่ต้องการพัฒนา โดยใช้วิธีการนิเทศ เหมาะสมกับครูแต่ละคน เพื่อให้การนิเทศเกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการนิเทศของผู้นิเทศและส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศ โรงเรียนเทศบาล 3ยุวบูรณ์บำรุง และกระบวนการในการนิเทศ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วางแผนการนิเทศ (Planning-P) ขั้นตอนที่ 2 ให้ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน (Informing-I) ขั้นตอนที่ 3 ลงมือปฏิบัติงาน (Doing-D) ได้แก่ 3.1 การปฏิบัติงานของผู้รับนิเทศเป็นขั้นที่ผู้รับการนิเทศลงมือปฏิบัติงานตามความรู้ความสามารถที่ได้รับมาจากดำเนินการในขั้นที่ 2 3.2 การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ ขั้นนี้ผู้ให้การนิเทศจะทำการนิเทศและควบคุมคุณภาพให้งานสำเร็จออกมาทันตามกำหนดเวลาและมีคุณภาพสูง 3.3 การปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ ผู้บริหารก็จะให้บริการสนับสนุนในเรื่องวัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างได้ผลขั้นตอนที่ 4 สร้างเสริมกำลังใจ (Reinforcing-R) ขั้นตอนที่ 5 ประเมินการนิเทศ (Evaluating-E)โดยมีการกำกับ ติดตาม (Monitoring) อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินการนิเทศเกิดประสิทธิภาพ และองค์ประกอบด้านเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อมีค่าเท่ากับ 1.00 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 – 1.00 และความสอดคล้องของรูปแบบ มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ ระหว่าง 0.80 – 1.00 ทั้งนี้เนื่องมาจากขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) มีกระบวนการที่เป็นระบบ มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ที่คาดหวัง
3. ผลการทดลองการใช้รูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง สรุปได้ดังนี้
3.1 สมรรถภาพในการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ของครูผู้นิเทศ หลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) พบว่า ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศอยู่ในระดับสูงมาก
3.2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้นิเทศ พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ครูผู้นิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ
3.3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ของครูผู้รับการนิเทศ พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ มีคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ
3.4 สมรรถภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศ พบว่า ครูผู้รับการนิเทศมีสมรรถภาพในการทำวิจัยในชั้นเรียน อยู่ในระดับสูงมาก
4. ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 ยุวบูรณ์บำรุง พบว่า ครูผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้คือ ลำดับที่ 1 ด้านกระบวนการนำรูปแบบไปใช้ ลำดับที่ 2 ด้านผลของการใช้รูปแบบ และลำดับที่ 3 ด้านองค์ประกอบของรูปแบบ ทั้งนี้จากการสนทนากลุ่มพบว่าองค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน กระบวนการนิเทศมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันในแต่ละขั้นตอน ถือเป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มากในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาส่วนเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้นั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการนำรูปแบบการนิเทศไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะเงื่อนไขของครูที่มีความมุ่งมั่น จริงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ด้วยความเต็มใจ ร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบในการทำงานและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก รวมทั้งผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครู เป็นการส่งเสริมให้ครูเกิดการพัฒนาทั้งด้านการนิเทศและการทำวิจัยในชั้นเรียน และ ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการทำวิจัยในชั้นเรียน ของครูผู้รับการนิเทศ พบว่า ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศแบบพีไอดีอาอี (PIDRE Model) นักเรียนมีผลการเรียนรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการนิเทศ นักเรียนทุกระดับชั้น ทุกห้อง มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศ