การเปรียบเทียบผลการใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ
พัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาคลัง
ผู้ศึกษา นางสาวราตรี ศักดิ์อุบล
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างหนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาคลัง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางภาษา ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาคลัง
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาคลัง เทศบาลตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี สังกัดกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน เด็กทั้งหมด 8 คน การได้มาของกลุ่มเป้าหมาย ผู้รายงานทำการเลือกแบบเจาะจง (Purposive random sampling) การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษาแบบกลุ่มเดี่ยวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาคลัง 2) แผนการจัดประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาคลัง ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นจำนวน 36 แผน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที (t –test) ชนิดกลุ่มเป้าหมายไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า 1) ประสิทธิภาพของหนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาคลัง ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.61/90.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) พัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางภาษา ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่การจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาคลัง มีคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05