รายงานการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวค
ผู้รายงาน นายพัชรดนัย ห้าวหาญ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดบำรุงธรรม)
บทคัดย่อ
รายงานฉบับนี้เป็นการรายงานผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำ ภาพหุ่นนิ่ง รายวิชาทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำ ภาพหุ่นนิ่ง รายวิชาทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 (2)เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำภาพหุ่นนิ่งรายวิชาทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5(3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำภาพหุ่นนิ่งรายวิชาทัศนศิลป์และ(4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำภาพหุ่นนิ่งรายวิชาทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1โรงเรียนเทศบาล ๔(วัดบำรุงธรรม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน 1 ห้องเรียน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดบำรุงธรรม) มีการจัดผู้เรียนให้คละความสามารถกันในทุกห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยเครื่องมือ 4 ชนิด ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำ ภาพหุ่นนิ่งรายวิชาทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบปรนัย แบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (3) แบบประเมินความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำหุ่นนิ่งรวม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ใช้เกณฑ์การประเมิน 4 ระดับ จำนวน 10 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำภาพหุ่นนิ่ง รายวิชาทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการตรวจสอบสมมุติฐานใช้
t-test(dependent samples)
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำภาพหุ่นนิ่ง รายวิชาทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5มีค่าเท่ากับ82.32/81.54ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำ ภาพหุ่นนิ่งรายวิชาทัศนศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5มีค่าเท่ากับ0.6124แสดงว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ61.24
3. ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำ ภาพหุ่นนิ่งรายวิชาพื้นฐานทัศนศิลป์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
4. ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำภาพหุ่นนิ่งมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โดยสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการวาดภาพระบายสีน้ำ ภาพหุ่นนิ่งรายวิชาทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้สร้างความพึงพอใจในการเรียนแก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนเกิดการพัฒนาความสามารถ รู้จักเชื่อมโยงทักษะย่อยต่างๆเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนหรือการปฏิบัติงานรวมเป็นผลงานหรือองค์ความรู้โดยรวมที่สมบูรณ์สร้างผลงานให้มีคุณค่าและมีคุณภาพ ผู้เรียนได้เรียนรู้เทคนิควิธีการและกระบวนการปฏิบัติงานที่ถูกต้องอันเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการนำไปใช้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป จึงควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนนำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการศึกษาต่อไป