การพัฒนาชุดการสอนนาฏศิลป์ รายวิชา ศิลปะ (นาฏศิลป์) ศ22101
ผู้วิจัย : นางสิทธิพร คงสิม
ตำแหน่ง : ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา : โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบแผนการวิจัย Pre -Experimental Designs แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนสอบหลัง One Group Pretest-Posttest Design มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาชุดการสอนนาฏศิลป์ รายวิชา ศิลปะ (นาฏศิลป์) ศ22101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนนาฏศิลป์ ที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยชุดการสอนนาฏศิลป์ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนจากชุดการสอนนาฏศิลป์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 1/7 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดการสอนนาฏศิลป์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t–test) แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาชุดการสอนนาฏศิลป์ รายวิชา ศิลปะ (นาฏศิลป์) ศ22101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.58/85.56 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนนาฏศิลป์มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ .6964 แสดงให้เห็นว่า หลังจากที่นักเรียนได้เรียนด้วยชุดการสอนนาฏศิลป์นี้แล้ว นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อย 69.64 3) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนนาฏศิลป์ รายวิชา ศิลปะ (นาฏศิลป์) ศ22101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนนาฏศิลป์ รายวิชา ศิลปะ (นาฏศิลป์) ศ22101 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20, S.D.= 0.63)