การพัฒนาศักยภาพการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทย
เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพ การกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยนักเรียนโรงเรียนบ้านไร่วิทยา”
ชื่อเรื่อง การพัฒนาศักยภาพ การกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยนักเรียนโรงเรียนบ้านไร่วิทยา
ชื่อผู้วิจัย นางนฤมล อินทฤทธิ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
โรงเรียน บ้านไร่วิทยา
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการกระสวนจังหวะตัวโน้ตดนตรีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 2 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 10 คน ได้แก่
1. เด็กชายทรงวุฒิ กรึงไกร
2. เด็กชายพงศกร เขียวนิล
3.เด็กชายภานุวัฒน์ พิมพ์จันทร์คำ
4.เด็กชายวาคิม แก้วตา
5.เด็กหญิงกรรณิการ์ ขุนเพ็งมี
6.เด็กหญิงกฤตพร ทรดี
7.เด็กหญิงเกตษดา คณทา
8.เด็กหญิงชลลดา บุญมา
9.เด็กหญิงบุษกร หมั่นการไร่
10.เด็กหญิงพรนภา พุฒศิริ
โดยสังเกตพฤติกรรม การปฏิบัติฝึกกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยและความตั้งใจในการทำแบบทดสอบ
ผลการวิจัย พบว่านักเรียนจำนวนหนึ่งมีการพัฒนาทักษะการกระสวนจังหวะตัวโน้ตดนตรีไทยที่ดีขึ้น ต่างจาการสอนแบบวิธีปกติ โดยวิธีการให้นักเรียนมาซ้อมในเวลาพักกลางวัน โดยให้นักเรียนอ่านกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยทีละบรรทัด ซ้ำไปซ้ำมาจนนักเรียนอ่านโน้ตได้คล่อง โดยผ่านการฝึก ตามลำดับขั้นตอนจากแบบทดสอบที่ 1ไปจนถึง แบบทดสอบที่ 3 แล้วจับกลุ่มมาสอบกับคุณครู นักเรียนจึงเกิดทักษะในการอ่านกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยที่ดีขึ้น สามารถอ่านโน้ตดนตรีไทยได้ชัดเจน ถูกต้อง ซึ่งนำมาสู่การพัฒนาทักษะการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยได้อย่างคล่องแคล่ว
ความเป็นมา
การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรี นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้ เพราะสามารถที่จะฝึกจิตใจให้ผู้เรียนเกิดสมาธิแน่วแน่ มีจิตใจงดงาม สุขภาพกายและสุขภาพจิตมีความสมดุล ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมส่งผลถึงการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆของผู้เรียน และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคมไทย
จากประสบการณ์ การสอนวิชาดนตรีไทยของผู้วิจัย พบว่ามีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวนหนึ่ง มีปัญหาเกี่ยวกับการโน้ตดนตรีไทยเบื้องต้นยังไม่ได้ ซึ่งผู้เรียนคิดว่าการอ่านโน้ตดนตรีไทยเป็นเรื่องที่ยาก ผู้วิจัยคิดว่า การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยเริ่มให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายๆไปหาสิ่งที่ยาก จะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจและมีกำลังใจ ในการพัฒนาทักษะและผลงานทางด้านดนตรีไทยได้ และนอกจากนี้ หากผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบ และแบบฝึกปฏิบัติกิจกรรมดนตรีไทยโดยการปฏิบัติแบบซ้ำๆกัน โดยเริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆไปหาสิ่งที่ยากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแม่นยำในการเรียนรู้ มีทักษะ มีความชำนาญ มีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติการอ่านโน้ตดนตรีไทยได้
เนื่องจากนักเรียนที่เรียนดนตรีไทยนั้น ส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะมองว่าดนตรีมีส่วนในการพัฒนา
ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ช่วยให้การประสานงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ความสามารถทางการเห็นและการได้ยินที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่จริงๆแล้วดนตรีไทยยังมีส่วนเสริมสร้างสมาธิ ความจำ เชาว์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์อื่นๆได้ ในการเรียนดนตรีไทยนั้น มีหลายรูปแบบเช่น เรียนด้านการปฏิบัติ ด้านวิชาการหรือทฤษฎี ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทย เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในการเรียนดนตรีไทย ผู้วิจัยเห็นว่าการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยของนักเรียนในชั้นเรียนเป็นปัญหาที่น่าสนใจ จึงได้เกิดการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทย” ขึ้น
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจในการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทย
2. เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
3. เพื่อพัฒนาอารมณ์
4. เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียน
5. เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นเลิศทางด้านดนตรี
สมมติฐานของการวิจัย
1. ประสิทธิภาพของการกระสวนจังหวะที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาดนตรีไทย เรื่อการกระสวนจังหวะของนักเรียน ภายหลังได้รับการสอนตามแบบฝึกหัดการกระสวนจังหวะ สูงกว่าก่อนเรียน
3. เพื่อประเมินความสามารถในการกระสวนจังหวะของนักเรียน อยู่ในระดับดีที่สุด
ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตเนื้อหา
วิชาดนตรีไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการกระสวนจังหวะดนตรีไทย
2. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 10 คน
3. ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้
ตัวแปรต้น
- การกระสวนจังหวะดนตรีไทย
ตัวแปรตาม
- ประสิทธิภาพในการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทย
- ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนเรื่องการกระสวนจังหวะโน้ต ดนตรีไทย
นิยามศัพท์เฉพาะ
การกระสวนจังหวะ หมายถึง
ประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถในการดำเนินงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามจุดหมายที่วางไว้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ผลสัมฤทธิ์ หมายถึง ผลการวัด การเปลี่ยนแปลงและประสบการณ์การเรียนรู้ ในเนื้อหาสาระที่เรียนมาแล้วว่าเกิดการเรียนรู้เท่าใดมีความสามารถชนิดใด โดยสามารถวัดได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในลักษณะต่างๆ และการวัดผลตามสภาพจริง เพื่อบอกถึงคุณภาพการศึกษา
จังหวะหมายถึง การเคลื่อนที่ของแนวทำนองหรือเสียงในช่วงเวลาหนึ่ง จังหวะ(Rhythm) เป็นพื้นฐานในชีวิตของมนุษย์ เราจะพบกับจังหวะได้ในทุก ๆ วัฎจักร นับตั้งแต่การเกิดกลางคืน - กลางวัน, การมีฤดูกาลทั้ง 4 ฤดู, การขึ้น – ลงของน้ำ, การหายใจ, การเต้นของหัวใจ, การเดิน
วิธีการดำเนินการวิจัย
1. นำเพลงประกอบการเรียน ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนบ้านไร่วิทยา จำนวน 3 แบบทดสอบ โดยให้นักเรียนฝึกกระสวนจังหวะโน้ตไทย จากแบบทดสอบที่ 1 คือการกระสวนจังหวะแบบตัวเลข แบบทดสอบที่ 2 การกระสวนจังหวะแบบสัญลักษณ์ และแบบทดสอบที่ 3 การกระสวนจังหวะแบบแทนตัวโน้ตไทย ผลจากการฝึก การกระสวนจังหวะโน้ตไทย พบว่า เด็กเรียนรู้ได้เร็วขึ้น มีพัฒนาการตามลำดับ และจากการติดตามผล เด็กจะมีความเข้าใจและคงทนในการจำยาวนาน โดยทดลองฝึกการกระสวนจังหวะโน้ตไทยควบคู่ไปกับการเรียนในหลักสูตรปกติ พบว่า เวลาเรียนเพียง 1 ภาคเรียน นักเรียนสามารถพัฒนาศักยภาพในด้านการกระสวนจังหวะโน้ตไทยได้ผลดียิ่งขึ้น
2. ได้จำแนกการเรียนรู้ ออกเป็น 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นความรู้ ขั้นเข้าใจ ขั้นนำไปใช้ ขั้นวิเคราะห์ ขั้นสังเคราะห์
และขั้นประเมินคุณค่า กระบวนการคิดที่สำคัญ ได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหาการคิดตัดสินใจ
เป็นต้น ดนตรีเป็นสิ่งเร้าที่สำคัญของการทำงานของสมองในการะบวนการคิด ทั้งนี้เพราะการรับรู้ทางดนตรีเกิดจากการจินตนาการ ซึ่งเกิดขึ้นภายในสมองโดยตรง หากสมองได้รับการกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอจากเพลงที่มีทำนองง่ายๆ เรียนรู้สัญลักษณ์ทางดนตรีไทย จังหวะยกและตก ซึ่งเป็นทักษะที่สอดคล้องกับทักษะกระบวนการคิดอย่างแท้จริง จึงได้ทดลองสอนกระสวนจังหวะการอ่านโน้ตดนตรีไทยให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 2/2 วันละ 20 นาที เป็นเวลา 1 ภาคเรียน โดยทำการทดสอบ ก่อน/หลัง การอ่านแบบทดสอบ พบว่า เด็กมีความสามารถในการกระสวนจังหวะการอ่านโน้ตดนตรีไทยเพิ่มขึ้น
3. ฝึกสมาธิ โดยมีการทำสมาธิก่อนทุกครั้ง สมาธิ หมายถึง ความตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่าง
เดียว คนที่มีสมาธิดี สามารถที่จะทำงานอะไรก็ตามอย่างตั้งอกตั้งใจจนกระทั่งประสบความสำเร็จ สมาธินี้ถ้าได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ จะขยายขอบเขตของช่วงเวลามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายของ
ช่วงเวลาที่จิตใจอยู่ในสภาวะนิ่งหรือคงที่ไปพร้อมๆ กัน สภาวะนิ่งหรือคงที่ของจิตใจ เรียกว่า พลังสมาธิ
โลกปัจจุบันนี้ ยอมรับกันว่า การที่บุคคลจะประสบความสำเร็จในกิจการงานต่างๆ ได้ตามวัตถุประสงค์
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. แบบทดสอบการอ่านโน้ตดนตรีไทยแบบตัวเลข
2. แบบทดสอบการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยแบบสัญลักษณ์แทนตัวเลข
3. บทเพลงฝึกปฏิบัติการอ่านโน้ตดนตรีไทย จำนวน 3 เพลง
การดำเนินการทดลอง
การพัฒนานักเรียนโดยคัดเลือกนักเรียนที่มีปัญหาด้านการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทย ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 1 ภาคเรียน โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 : เป็นระยะใช้แบบฝึกทักษะการพัฒนาสติปัญญานักเรียน
ระยะที่ 2 : เป็นระยะพัฒนากระบวนการคิดและการฟัง โดยสังเกตพฤติกรรมการกระสวนจังหวะโน้ต จับใจความของนักเรียน
ระยะที่ 3 : เป็นระยะพัฒนาอารมณ์พัฒนาการคิดและการปฏิบัติฝึกกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยของ
นักเรียนและเสริมแรงทางบวก
ระยะที่ 4 : เป็นระยะทดสอบเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการปฏิบัติกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทย
สรุปผลการวิจัย
ผลจากการวิจัย เรื่อง “ การพัฒนาศักยภาพการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยนักเรียนโรงเรียนบ้านไร่วิทยา ” จากการนำไปดำเนินการ นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยจนเกิดความชำนาญ เกิดทักษะความเข้าใจอย่างแท้จริง การกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทย ยังเป็นการช่วยเสริมสร้างสมาธิ ฝึกความจำ ส่งผลให้นักเรียนมีทักษะในการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยที่ดีและส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
จากการสรุปการทดสอบนักเรียน ในการพัฒนาศักยภาพการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทย ได้ดังนี้
1. นักเรียนจำแนกสัญลักษณ์โน้ตทางดนตรีไทยได้
2. นักเรียนสามารถอ่านกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยได้
3. นักเรียนสามารถออกเสียงระดับเสียงตามสัญลักษณ์ทางดนตรีไทยได้ถูกต้อง
4. นักเรียนมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติการกระสวนจังหวะโน้ตดนตรีไทยได้ถูกต้อง
5. นักเรียนสามารถนำความรู้จากการปฏิบัติการกระสวนจังหวะการอ่านโน้ตดนตรีไทย ไปใช้ในการอ่านโน้ต เพื่อใช้ฝึกการปฏิบัติเครื่องดนตรีไทยได้จริง
ข้อเสนอแนะ
1. ควรให้นักเรียนได้ฝึกบ่อยครั้งเพื่อให้เกิดความชํานาญ
2. ควรจัดให้มีการทดสอบเพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาตนเองตลอดเวลา
3. ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนดนตรีเพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง มีสมาธิและวินัย
ในตนเองที่ดียิ่งขึ้น
4. กลุ่มนักเรียนที่ต้องพัฒนาได้แก่ นักเรียนที่เรียนดนตรีประเภทอื่นๆ ควรได้รับการพัฒนาเพื่อให้เกิดความชำนาญมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนนักเรียนที่เรียนดนตรีไทยควรพัฒนาอย่างต่อเนื่อง