การพัฒนาการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทาน
ความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี
ผู้วิจัย นางสาวอัญจนา มะเดื่อ
ปีที่ทำการวิจัย 2561
สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเดื่อ ตำบลผือใหญ่ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ
จังหวัดศรีสะเกษ
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทานเพื่อเตรียมความพร้อม
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเดื่อ
ตำบลผือใหญ่ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทานเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเดื่อ ตำบลผือใหญ่ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทานเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี 3) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อน
การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์และหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทาน
เพื่อเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทานเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเดื่อ ตำบลผือใหญ่ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียน จำนวน 17 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi- Experimental Research) ผู้วิจัยใช้รูปแบบการทดลองแบบ one-group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทานเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี จำนวน 18 แผน 2) ชุดนิทานเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี จำนวน 9 ชุด 3) แบบทดสอบวัดความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ชนิดเลือกตอบ 2 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่ 0.43 ถึง 0.80 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.67 มีความเชื่อมั่น (rcc) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 4) แบบวัด
ความพึงพอใจ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 3 อันดับ จำนวน 10 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนก
รายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.63 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้
คือ ค่าเฉลี่ย ("X" ̅) ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทานเพื่อเตรียม
ความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.93/83.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทานเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี มีค่าเท่ากับ 0.6138 แสดงว่าเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี มีพัฒนาการก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 61.38
3. ความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทานเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ชุดนิทานเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี โดยรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การพัฒนาชุดนิทานเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี เหมาะที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี จึงควรสนับสนุนให้ครูและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยนำชุดนิทานดังกล่าว ไปปรับใช้เพื่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น