การพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อม
ด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี
ผู้รายงาน นางสาวพรสวรรค์ ผมพันธ์
ปีที่ทำการศึกษา 2561
สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผือ ตำบลผือใหญ่ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผือ ตำบลผือใหญ่ อำเภอ
โพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะ
เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี 3) เพื่อเปรียบเทียบ
ความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ก่อนการจัดประสบการณ์และหลัง
การจัดประสบการณ์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผือ ตำบลผือใหญ่ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัด
ศรีสะเกษ จำนวน 1 ห้องเรียน มีเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือก
แบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ผู้วิจัยใช้รูปแบบการทดลองแบบ one group Pre-test, Post-test Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดแบบฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี จำนวน 9 เล่ม 2) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้
ชุดแบบฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี จำนวน 18 แผน 3) แบบทดสอบวัดความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี
แบบชนิดเลือกตอบ 2 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.73 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.66 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rcc) เท่ากับ 0.88 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 อันดับ จำนวน 10 ข้อ ที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.45 ถึง 0.67 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้
t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.24/83.25
ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะเพื่อเตรียม
ความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี มีค่าเท่ากับ 0.5890 แสดงว่า เด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี มีความก้าวหน้าด้านการอ่านภาษาไทยร้อยละ 58.90
3. ความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้
ชุดแบบฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี โดยรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การพัฒนาการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะเพื่อเตรียม
ความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี เหมาะที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาการเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ปี จึงควรสนับสนุนให้ครูผู้ดูแล
เด็กปฐมวัยนำชุดแบบฝึกทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย ดังกล่าวไปปรับใช้
ในการจัดการประสบการณ์ เพื่อพัฒนาความพร้อมด้านการอ่านภาษาไทย ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น