รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิชา วัฒนธรรมท้องถิ่น ด้วยโค
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้ศึกษา : นางอำพร นันทะชัย
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชา วัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวชิรป่าซาง โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชา วัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างคะแนนก่อนเรียน และหลังเรียน เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชา วัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนวชิรป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 จำนวน 18 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชา วัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิชา วัฒนธรรมท้องถิ่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชา วัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาสรุปได้ว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชา วัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 87.14/90.92 แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชา วัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และเป็นไปตามสมมติฐานการศึกษาข้อที่ 1
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชา วัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 34.61 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 90.92 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการศึกษาข้อที่ 2
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชา วัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเนื้อหา ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผล พบว่า อยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการศึกษาข้อที่ 3