ผลของการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดย มัณฑนา โฮ้หนู
ผลของการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่มีต่อการสร้างสมาธิของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชมภูพร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่มีต่อการสร้างสมาธิของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชมพูพร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่มีต่อการสร้างสมาธิของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชมภูพร 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการมีสมาธิของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ระหว่างเพศชายและเพศหญิงหลังการทํากิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชมพูพร อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน แบ่งเป็นนักเรียนชาย 7 คน นักเรียนหญิง 8 คน รวม 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 จำนวน 12 ชุดกิจกรรม 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กปฐมวัย จำนวน 25 ข้อ 3) แผนการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t–test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่มีต่อการสร้างสมาธิของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่1 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชมภูพร มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.35/83.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชมภูพร ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่มีต่อการสร้างสมาธิของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชมภูพรมีพฤติกรรมการมีสมาธิหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 เพศชายและเพศหญิงหลังที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีพฤติกรรมการมีสมาธิหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการมีสมาธิสูงกว่าเพศชาย