การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกีฬาปันจักสีลัต
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกีฬาปันจักสีลัตเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (TMNA Model)
ผู้วิจัย นายธรรมนูญ อารีอับดุลซอมะ
ปีการศึกษา 2561
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกีฬาปันจักสีลัตเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (TMNA Model) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนกีฬาปันจักสีลัตเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (TMNA Model) 3) ศึกษาพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนกีฬาปันจักสีลัตเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (TMNA Model) และ 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนกีฬาปันจักสีลัตเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (TMNA Model) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ จำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่อิสระและแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนกีฬาปันจักสีลัตเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (TMNA Model) มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 เชื่อมโยง (T : Tether) ขั้นที่ 2 เรียนรู้ (M : Mastery) ขั้นที่ 3 แลกเปลี่ยน (N : Negotiate) ขั้นที่ 4 นำไปใช้ (A : Apply) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.26/88.18 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนกีฬาปันจักสีลัตเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (TMNA Model) พบว่าความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ .01
3. ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนกีฬาปันจักสีลัตเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (TMNA Model) ในช่วงระหว่างเรียนมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น
4. นักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนกีฬาปันจักสีลัตเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (TMNA Model) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด