บทคัดย่อ การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราแม่กน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน
ผู้รายงาน นางอารมย์ อำพันธุ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ปีที่รายงาน ๒๕๕๘
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราแม่กน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์ คือ ๑)สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราแม่กน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E๑/E๒ = ๘๐/๘๐ ๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราแม่กน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีการใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราแม่กน สำหรับ
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา
๒๕๕๘ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน ๑๑คน (๑ ห้องเรียน) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราแม่กน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๕ เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าความยากง่ายระหว่าง ๐.๒๑ - ๐.๙๖ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง ๐.๐๘ - ๐.๖๗ และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๖๖ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบหาค่า t สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการหาประสิทธิภาพ E๑/E๒ ) ของชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราแม่กน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบใช้สูตรของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR๒๐) การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้วิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟา ( - Alpha Coefficient) และการทดสอบค่าที (t – test dependent) ผลการศึกษา พบว่า ๑) ชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราแม่กน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ๘๐/๘๐ โดยมีประสิทธิภาพ ๘๑.๗๗/๘๒.๑๒ ๒) ความสามารถการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราแม่กน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราแม่กน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน พบว่า
นักเรียนมีความสามารถการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราแม่กน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .๐๕ ๓) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงตามมาตราแม่กน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีค่าเฉลี่ยระดับ ๔.๙๘ ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก