เผยแพร่ผลงาน รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐ
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวฤทัยรัตน์ สุ่มเข็มทอง
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ประเมินด้านสภาพแวดล้อม โครงการขับเคลื่อน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 2) ประเมินด้านปัจจัย โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 3) ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 และ 4) ประเมินด้านผลผลิตโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 ในประเด็นต่อไปนี้คือ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียน หันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องเกี่ยวกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2554 จำนวน 64 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 จำนวน 313 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 จำนวน 313 คน และกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนหันคาพิทยาคม จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินได้แก่ 1) แบบสอบถาม การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 จำนวน 4 ฉบับ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์นักเรียน เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียนหันคาพิทยาคมปีการศึกษา 2554 พบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.55
2. ผลการประเมินด้านปัจจัย โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.55
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.57
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 ปรากฏผลดังนี้
4.1 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.56
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.55
4.3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนของโรงเรียนหันคาพิทยาคม ปีการศึกษา 2554 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่องเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนหลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05