การประเมินโครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านมหาชัย
ผู้วิจัย นางสาวดุจดาว จิตใส
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านมหาชัย (อนุxxxลราษฎร์)
ปีที่ประเมิน 2562
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการธนาคารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลบ้านมหาชัย (อนุxxxลราษฎร์) จังหวัดสมุทรสาคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบทของโครงการธนาคารโรงเรียน 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการธนาคารโรงเรียน 3) ประเมินด้านกระบวนการของโครงการธนาคารโรงเรียน 4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการธนาคารโรงเรียน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลเทศบาลบ้านมหาชัย (อนุxxxลราษฎร์) จังหวัดสมุทรสาคร โดยผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียนผู้ปฏิบัติงานธนาคารโรงเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินพฤติกรรมนักเรียนการหาคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม และแบบประเมินพฤติกรรมของนักเรียน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน
1.การประเมินด้านบริบทของโครงการธนาคารโรงเรียน ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับ “มาก” และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา
2.การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการธนาคารโรงเรียน ภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับ “มาก” และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ มีสถานที่ที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ
3.การประเมินด้านกระบวนการของโครงการธนาคารโรงเรียน ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับ “มาก” และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือมีการนำผลการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการธนาคารโรงเรียน พบว่า การประเมินผลการดำเนินการของโครงการตามวัตถุประสงค์ด้านผลผลิตของโครงการธนาคารโรงเรียนจากผู้บริหาร ครู และนักเรียนผู้ปฏิบัติงานธนาคารโรงเรียน ภาพรวม อยู่ในระดับ “มาก”ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือโรงเรียนมีแนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในการดำเนินชีวิตรู้จักบริหารจัดการการใช้เงิน รู้จักประหยัด อดออม เห็นคุณค่าของการออมที่ดีขึ้น
ด้านการประเมินพฤติกรรมตนเองของนักเรียน ภาพรวม พบว่า นักเรียนปฏิบัติอยู่ในระดับ “มาก” ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทักษะการดำเนินชีวิต รู้จักบริหารจัดการการใช้เงิน และ การประเมินพฤติกรรมนักเรียนโดยผู้ปกครองนักเรียน ภาพรวม พบว่า นักเรียนปฏิบัติ อยู่ในระดับ “มาก” ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์