LASTEST NEWS

03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567ด่วน!!! สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดสอบตำรวจ 1,530 อัตรา รับสมัคร 12-20 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567

การพัฒนารูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อเสริมทักษะการแกะสลั

usericon

บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อเสริมทักษะการแกะสลักผักและผลไม้
    สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย     นางทัศนีย์ พรแก้ว
ปีที่พิมพ์     2561
หน่วยงาน     โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อเสริมทักษะ การแกะสลักผักและผลไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยมีขั้นตอนในการพัฒนารูปแบบแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอน 3) การทดลองใช้รูปแบบการสอน และ 4) การประเมินผล/ปรับปรุงรูปแบบการสอน โดย การวิจัยครั้งนี้ได้ทดลองใช้กับ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากนักเรียน ที่เลือกเรียนวิชา ง20224 การแกะสลักผักและผลไม้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้รายวิชา ง20224 การแกะสลักผักและผลไม้ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ การสอนแบบ Active Learning เพื่อเสริมทักษะการแกะสลักผักและผลไม้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อเสริมทักษะการแกะสลักผักและผลไม้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent Samples t-test One Sample t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความต้องการที่จะพัฒนาคุณภาพทักษะการแกะสลักผักและผลไม้ประเภทต่าง ๆ ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับได้ดังนี้ ด้านความรู้เกี่ยวกับ การแกะสลักผักและผลไม้ ด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านคุณลักษณะที่ดี ในกระบวนการทำงาน ด้านการส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง รักการทำงานเป็นทีม ด้านการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยบูรณาการกับความสามารถทางศิลปะ และด้านการจัดตกแต่งผักและผลไม้ ในงานโอกาสต่าง ๆ จากการสัมภาษณ์ครูการงานอาชีพและเทคโนโลยี สรุปได้ข้อมูลสอดคล้องกันว่า นักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีปัญหาในการแกะสลักผักและผลไม้ โดยนักเรียนบางคนขาดความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์ เพราะไม่เคยทำมาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ทำให้เกิดความท้อแท้ ไม่มีความกระตือรือร้น ในการทำงาน รวมถึงตัวนักเรียนขาดความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบในการทำงาน และนักเรียน ขาดความมั่นใจในการทำงาน ทำให้ไม่สามารถทำงานแกะสลักผักและผลไม้ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพที่ดี การจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการสอน Active Learning จะส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องงานแกะสลักผักและผลไม้ และลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
    2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อเสริมทักษะการแกะสลักผักและผลไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ได้รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า ACAPIT Model โดยรูปแบบการเรียนการสอนมีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการกิจกรรม สิ่งที่เสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รวมทั้งแนวคิดการสอนแบบ Active Learning และการประเมินผลตามสภาพจริง สำหรับกระบวนการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน ACAPIT Model เพื่อเสริมทักษะการแกะสลักผักและผลไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีส่วนประกอบ ดังนี้ 1) สังเกต รับรู้งาน (A : Awareness of Working) 2) การเรียนรู้ร่วมกัน (C: Cooperative Learning) 3) ปฏิบัติงานด้วยตนเอง (A : Active Learning by Doing) 4) ฝึกฝนจนชำนาญ (P : Practice with Skill) 5) สร้างสรรค์งานผลผลิต (I : Inventive Design and Use) และ 6) ผลสัมฤทธิ์ด้วยเทคโนโลยี (T : Technology for Best Practice) ผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพเหมาะสม มากที่สุด แสดงว่ารูปแบบการสอนมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน มีประสิทธิภาพ (E1/E2) = 83.75/83.25
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อเสริมทักษะการแกะสลักผักและผลไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบนี้ มีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียน ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี นำเสนอผลงานเป็นที่น่าพอใจ นักเรียนมีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการแกะสลักผักและผลไม้หลังการใช้รูปแบบการสอนสูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีทักษะในการแกะสลักผักและผลไม้ สูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    
    4. ผลการประเมินผล/ปรับปรุงรูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อเสริมทักษะการแกะสลักผักและผลไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อเสริมทักษะการแกะสลักผักและผลไม้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามของนักเรียนและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญนำมาปรับปรุงรูปแบบการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^