ผลการจัดประสบการณ์การเรียนแบบจิตปัญญาที่มีต่อความสามารถทางภาษาแล
ผู้วิจัย เกศิณี เสมอวงษ์
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
ผลการจัดประสบการณ์การเรียนแบบจิตปัญญาที่มีต่อความสามารถทางภาษาและทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) เปรียบเทียบความสามารถทางภาษาของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลวัดลุ่มมหาชัยชุมพล จังหวัดระยอง จำนวน 32 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เนื่องจากนักเรียนมีอายุ และพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาและสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน และผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้นเพื่อความสะดวกและง่ายต่อการควบคุมสภาพ การทดลองการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญา จำนวน 15 แผน คุณภาพของแผนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D = 0.16) 2) แบบทดสอบความสามารถทางภาษา ซึ่งเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก โดยประเมินทักษะการฟัง การพูด การอ่านและ การเขียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 และ3) แบบประเมินทักษะทางสังคม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นกลุ่ม ด้านการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และ ด้านการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 แบบที่ใช้ในการวิจัย คือ One-Group Pretest-Posttest Design และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญามีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.03/80.16 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญา มีค่าเท่ากับ 0.6442 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน 0.6442 หรือคิดเป็นร้อยละ 64.42 3) ความสามารถทางภาษาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ 4) นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบจิตปัญญา มีทักษะทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 9.88, S.D. = 1.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากมากไปน้อย พบว่า นักเรียนเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 2.63, S.D. = 0.49) รองลงมานักเรียนปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ กติกาของกลุ่ม ( = 2.42, S.D. = 0.49) นักเรียนเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ( = 2.42, S.D. = 0.52) ส่วนนักเรียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ( = 2.41, S.D. = 0.56)