ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ด้วยการพัฒนาบทเรียนเรื่อง ข้อมูล
ต่อการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาเทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกันตังรัษฎาศึกษา
อุทัย แก้วรุ่งเรือง
โรงเรียนกันตังรัษาศึกษา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ด้วยการพัฒนาบทเรียนเรื่อง ข้อมูล ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ด้วยการพัฒนาบทเรียนเรื่อง ข้อมูล ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา เทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ด้วยการพัฒนาบทเรียน เรื่อง ข้อมูล ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิชาเทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกันตังรัษฎาศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ 5E จำนวน 1 แผน (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีลักษณะเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย จำนวน 10 ข้อ (3) แบบประเมินความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ซึ่งประเมินเกณฑ์รวม (Holistic Scoring Rubric) (4) แบบวัดความพึงพอใจ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test
ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับดี (2) นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ 5E สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยี วิทยาการคำนวณ หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ 5E สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการจัดการเรียนรู้แบบ5E อยู่ในระดับดี