การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA อนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย นางพัชราภรณ์ ครองพล
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดประทุมคณาวาส (นิพัทธ์หริณสูตร์) สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่น ในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อมั่น ในตนเอง ของเด็กปฐมวัยที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 4) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล ปีที่ 2 และ 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดประทุมคณาวาส (นิพัทธ์หริณสูตร์) สังกัดเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 3) แบบประเมิน ความเชื่อมั่นในตนเอง 4) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ Wilcoxon Singned-rank test
ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีดังนี้ 1) กรอบแนวคิดทฤษฎี มาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ทฤษฎีทางการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม แนวคิดการพัฒนาด้าน จิตพิสัย แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ แนวคิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข แนวคิดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) หลักการพัฒนาสำหรับเด็กปฐมวัย 5 หลักการ ได้แก่ 2.1) หลักการเรียนรู้อย่างมีความสุข ที่มีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางอารมณ์ของออซุเบล 2.2) หลักการเรียนรู้จากการสังเกตมาจากแนวคิดพื้นฐานจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดรูา 2.3) หลักการปรับมโนทัศน์ มีพื้นฐานพัฒนาการมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ 2.4) หลักการลงมือกระทำมีพื้นฐานแนวคิด จากเรียนรู้แบบร่วมมือ และทฤษฎีพัฒาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์กและทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ที่ให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก และ 2.5) หลักการประเมินค่ามีแนวคิดจากการพัฒนาจิตพิสัยของบลูมที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ที่ต้องคำนึงถึงการทำงานร่วมกัน และมีแนวคิดจากและมีแนวคิดจากทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ ถ้าเด็กมีพฤติกรรมในการปฏิบัติชอบแล้วได้รับการชื่นชมเด็กก็จะมีพฤติกรรมคงอยู่ ตลอดจนประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D) เป็น การออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D and D) การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R) การนำไปใช้ (Implementation : I) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) การประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 3) การพัฒนาการพัฒนารูปแบบการประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีรูปแบบการเรียนรู้แบบ PRADA Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการรับรู้ (P = Perception) 2) ขั้นสะท้อนความคิด (R = Reflective Thinking) 3) ขั้นลงมือปฏิบัติการคิด (A = Active Learning) 4) ขั้นเรียนรู้ด้วย การค้นพบ (D = Discovery Learning) และ5) ขั้นประยุกต์นําไปใช้ (A = Application) เพื่อให้ เด็กปฐมวัยได้เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์และมีวิจัย การประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยที่ผล การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.70-5.00 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้การพัฒนารูปแบบการประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
2. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล ปีที่ 2 พบว่า 2.1) ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเองและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 92.08/91.99 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และ 2.2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการประสบการณ์ การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ .7720 แสดงว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.20 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. การเปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเอง ของเด็กปฐมวัยที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5.การประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบ การประสบการณ์การเรียนรู้ PRADA เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยรวมและรายข้อทุกข้อในระดับมาก