โวหารภาพพจน์
โวหารภาพพจน์
คือ การพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่ใช้อยู่เป็นปกติ ก่อให้เกิดจินตภาพ มีรสกระทบใจ ความรู้สึกและอารมณ์ ต่างกับการใช้ภาษาอย่างตรงไปตรงมา การใช้โวหารภาพพจน์มีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้
1.อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง โดยนําสองสิ่งที่ต่างจําพวกกัน แต่มีลักษณะเด่นเหมือนกันมาเปรียบเทียบกัน มักมีคำดังนี้ เหมือน ดัง คล้าย เท่า ประหนึ่ง ละม้าย ราว ราวกับ ปาน เพียง เสมอเหมือน เปรียบ ประดุจ
ตัวอย่างการใช้อุปมา
เธอสวยเหมือนนางฟ้า
เด็กคนนี้ซนเหมือนลิง
ทะเลยามนี้เงียบราวกับป่าช้า
จงจําไว้ว่าปัญญาประดุจดังอาวุธ
เสียงเขาไพเราะปานเสียงนกร้อง
พระนิพพานปานประหนึ่งศีรษะขาด
เขาเดินองอาจดั่งพญาราชสีห์
2.อุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่ง อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรง แต่จะใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง มักมีคำดั้งนี้ เป็น , คือ
ตัวอย่างการใช้ภาพพจน์อุปลักษณ์
ทหารเป็นรั้วของชาติ
เธอคือดอกฟ้า
ครูคือแม่พิมพ์ของชาติ
กีฬาเป็นยาวิเศษ
ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
3.บุคคลวัต,บุคลาธิษฐาน,บุคคลสมมติ คือการกล่าวถึงสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีวิญญาณให้เสมือนเป็นสิ่งมีชีวิต
ตัวอย่างการใช้ภาพพจน์บุคคลวัต
ฟ้าหัวเราะเยาะข้าชะตาหรือ
ซุงหลายท่อนนอนร้องไห้ที่ชายป่า
พระจันทร์ยิ้มทักทายดาวบนท้องฟ้า
เปลวไฟกลืนกินบ้านเข้าไปทั้งหลัง
4.อติพจน์,อธิพจน์ คือ การกล่าวเกินจริงเพื่อสร้างความรู้สึก
ตัวอย่าง การใช้ภาพพจน์อติพจน์
ผมคิดถึงคุณใจจะขาด
ฉันหิวจนไส้จะขาดแล้ว
ลําบากเลือดตาแทบกระเด็น
ทําไมมันร้อนตับแตกแบบนี้
5.นามนัยคือ การใช้ชื่อส่วนประกอบที่เด่นของสิ่งหนึ่งแทนสิ่งนั้นทั้งหมดโดยส่วนประกอบดังกล่าวกับสิ่งนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
ตัวอย่างการใช้ภาพพจน์นามนัย
คนไทยไม่ยอมให้ใครมาทําลายขวานทองได้
นํ้าตาและรอยยิ้มอยู่คู่ชีวิต
เขารักเก้าอี้ยิ่งกว่าชื่อเสียง
ช้างศึกชนะอิเหนาผ่านเข้ารอบ
6.สัญลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบที่เรียกสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยใช้คําอื่นแทน เกิดจากการเปรียบเทียบและ ตีความซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป เช่น ความบริสุทธิ์ โง่ ความชั่วร้ายอุปสรรค ความรัก นักเขียน อิสรภาพ
7.สัทพจน์คือ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ
ตัวอย่าง การใช้ภาพพจน์สัทพจน์
บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว
ยุงบินหึ่งหึ่งอยู่ข้างหูน่ารําคาญ
เขายิงปืนดังปังปังปัง ๓ นัดซ้อน
ฟ้าผ่าดังเปรี้ยง
8.ปฏิพากษ์ คือการใช้คําและความหมายที่ไม่สอดคล้องกันหรือขัดแย้งกันมารวมไว้ด้วยกัน
ตัวอย่างเช่น
คู่หมั้นของหล่อนหล่อเป็นบ้า
แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร
ข้าหลับตาเห็นหมดแล้วว่าอะไรอยู่ตรงไหน
9.อวพจน์ คือ การกล่าวน้อยกว่าความจริง เพื่อสร้างความรู้สึก
ตัวอย่าง การใช้ภาพพจน์อวพจน์
เพชรเม็ดนี้เล็กเท่าขี้ตาแมว
ที่เท่าแมวดิ้นตายจะให้นอนได้ยังไง
พริบตาเดียวเขาก็ลอกการบ้านเสร็จ
จัดทำโดย
ครูนุศรา โมราบุตร
โรงเรียนอนุบาลวังม่วง อ.วังม่วง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2
อ่านต่อได้ที่: http://www.kruwandee.com/index.php?module=forum-write&cat=10