เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้บทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ผู้วิจัย นางสาวรำไพ เทพเรียน
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลพลประชานุxxxล
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การจัดเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และยังช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนรู้จักคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ (3) เพื่อศึกษาความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/6 โรงเรียนเทศบาลพลประชานุxxxล สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 26 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นห้องที่ผู้วิจัยเป็นครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 4 ชนิด ประกอบด้วย (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 เรื่อง (2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple Choices) 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยาก (P) ระหว่าง 0.28 - 0.78 ค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.26 - 0.80 ค่าความเชื่อมั่น (rcc) ของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.86 และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมี 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.36 – 0.76 ค่าความเชื่อมั่น (a) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้ t – test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.85 / 87.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ดังนั้น การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครั้งนี้ ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีความคิดสร้างสรรค์ในการเรียน สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และสิ่งสำคัญเด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีความพึงพอใจในการเรียน