รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลพนา (สามัคคีวิทยา)
ผู้รายงาน นางปริยากร ศรีวรบุญ
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาลพนา (สามัคคีวิทยา)
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำ ที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลพนา (สามัคคีวิทยา) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลพนา (สามัคคีวิทยา) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วย แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลพนา (สามัคคีวิทยา) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนเทศบาลพนา (สามัคคีวิทยา) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 23 คน ได้มาโดยสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลพนา (สามัคคีวิทยา) จำนวน 8 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนหลังเรียนการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 93.09 / 92.42 สูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80 ที่กำหนด
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.8264 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.64
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด