ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทำงาน ง14101 กลุ่มสาระการเรียน
บ้านตะลุบัน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ผู้วิจัย นางบุญเชิญ ศรีอินทร์
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะกระบวนการทำงาน ง14101 กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วย งานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านตะลุบัน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน หน่วย งานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทำงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยงานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนดังนี้
1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทำงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยงานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตรของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทำงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยงานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตรก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลอง
3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทำงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยงานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตรก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มควบคุม
4) เพื่อเปรียบเทียบเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทำงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยงานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตรหลังเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านตะลุบัน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ในการใช้เอกสารประกอบการเรียน หน่วย งานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยดำเนินการสอนด้วยตนเอง
ผลการวิจัยพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน หน่วย งานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.90/89.15
2. ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทำงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยงานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนของนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านตะลุบัน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ดังนี้
2.1 ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทำงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยงานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.13 คิดเป็นร้อยละ 42.82 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.28 และคะแนนวัดทักษะการทำงานก่อนเรียนของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.04 คิดเป็นร้อยละ 42.61 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.33 แสดงทักษะการทำงานก่อนเรียนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน
2.2 ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทำงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยงานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของกลุ่มทดลองหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 36.89 คิดเป็นร้อยละ 92.23 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.55 สูงกว่าคะแนนวัดทักษะการทำงานก่อนเรียนที่มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 17.13 คิดเป็นร้อยละ 42.82 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.28 และเมื่อทดสอบค่า t ได้เท่ากับ 63.97 แสดงว่า นักเรียนมีผลการพัฒนาทักษะการทำงานหลังเรียนจากการใช้เอกสารประกอบการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนจริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ผลการพัฒนาทักษะการทำงานจากการใช้เอกสารประกอบการเรียนของกลุ่มควบคุมหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 35.46 คิดเป็นร้อยละ 88.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.15 สูงกว่าคะแนนวัดทักษะการทำงานก่อนเรียนที่มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 17.04 คิดเป็นร้อยละ 42.61 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.33 และเมื่อทดสอบค่า t ได้เท่ากับ 86.80 แสดงว่า นักเรียนมีทักษะการทำงานหลังเรียนจากการใช้เอกสารประกอบการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนจริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.4 ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทำงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี หน่วยงานบ้าน งานประดิษฐ์ และงานเกษตร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของกลุ่มทดลองที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน มีคะแนนวัดผลหลังเรียนของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 36.89 คิดเป็นร้อยละ 92.23 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.55 และคะแนนวัดทักษะการทำงานก่อนเรียนของกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.46 คิดเป็นร้อยละ 88.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.15 แสดงว่าผลการพัฒนาทักษะการทำงานหลังเรียนของกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้เอกสารประกอบการเรียนอย่างแท้จริง
3. นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบ้านตะลุบัน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มีความพึงพอใจในการใช้เอกสารประกอบการเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.47 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีระดับความพึงพอใจมากอันดับที่ 1 คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 ระดับความพึงพอใจอันดับที่ 2 คือ ด้านการวัดและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ระดับความพึงพอใจอันดับที่ 3 คือ ด้านเนื้อหาสาระ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ระดับความพึงพอใจอันดับที่ 4 คือ ด้านสื่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ระดับความพึงพอใจอันดับที่ 5 คือ ด้านเอกสารประกอบการเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 4.32 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้เอกสารประกอบการเรียนตามที่คาดหวังไว้