รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์
ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ท 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้รายงาน นางนิภารัตน์ ศรีวรรณุ
โรงเรียน โรงเรียนพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ปีการศึกษา 2558
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ท 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ท 21101ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน
จับใจความเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ท 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ท 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ท 21101 ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1
ประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 95 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบฝึกทักษะการอ่าน
จับใจความเชิงวิเคราะห์ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเฉลี่ย (S) ค่าร้อยละ (P) และ t-test
ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ พบว่าแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความเชิงวิเคราะห์ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ท 21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 82.81/84.29 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 24.93 และคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 17.33 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล
ของการเรียน พบว่านักเรียนมีคุณภาพทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.91 และผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน พบว่านักเรียนมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจ
ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้