รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอน
ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้วิจัย นางธนัฏฐา วุฒิวณิชย์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการนิเทศ ที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อ
การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการนิเทศที่เหมาะสมจากแบบสอบถามและแบบสังเคราะห์เอกสาร ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 40 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผล โดยยกร่างรูปแบบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน จำนวน 41 คน จากนั้นตรวจสอบรูปแบบด้วยการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย นักวิชาการด้านนิเทศการศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการนิเทศการศึกษา จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัด การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการทดลองใช้รูปแบบ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 40 คน จากนั้นสะท้อนผลการทดลองใช้รูปแบบ เครื่องมือ คือ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบบันทึกการประชุม และแบบบันทึกการสะท้อนคิดจากผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 11 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการปฏิบัติ ด้านระบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอน ด้าน การดำเนินการนิเทศ และด้านการประเมินผลการการนิเทศ อยู่ในระดับมาก ในส่วนของปัญหาทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ความต้องการด้านกระบวนการนิเทศ และด้านการนิเทศรูปแบบ “SPIDER Model” อยู่ในระดับมาก ส่วนในด้านการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผลต่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มี 6 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการ SPIDER Model (4) วิธีดำเนินการ (5) ผลลัพธ์ (6) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ และคู่มือการใช้ ประกอบด้วย คำชี้แจงการใช้คู่มือ ตอนที่ 1 บทนำ ตอนที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการนิเทศการจัดการเรียนการสอน ตอนที่ 3 รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผล ตอนที่ 4 กระบวนการใช้ ตอนที่ 5 การประเมินผล และภาคผนวก ส่วนผลการตรวจสอบรูปแบบ และคู่มือการใช้ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับ มากที่สุด 3) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิผล พบว่า ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด การสะท้อนผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า มีส่วนช่วยให้ครูผู้สอนมีแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 องค์ประกอบด้านหลักการ และวัตถุประสงค์มีความเหมาะสม การติดตาม ดูแล ให้คำแนะนำของครูนิเทศมีประสิทธิภาพ คู่มือการใช้รูปแบบเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน รวมถึงกระบวนการ SPIDER Model ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษ ที่ 21