ขออนุญาตเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
เรื่องที่ 2 แหล่งธรรมลือเลื่อง และบูรณาการกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ในรูปแบบ DIREK Model
……………………………………………………………
ที่มาและความสำคัญ
ข้าพเจ้าเป็นครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยกุ่ม (ประสานราษฎร์วิทยา) โดยเฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประสบ
กับปัญหาด้านการอ่าน ซึ่งส่งผลให้การประเมินคุณภาพภายในรอบปีที่ผ่านมา มาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพ
ของผู้เรียน ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีน้ำหนักคะแนนเต็ม
20 คะแนน คะแนนที่ได้จากการประเมิน คือ 8.09 คะแนน อยู่ในระดับคุณภาพ พอใช้ จุดที่ควรพัฒนา
คือ (1) การเรียนการสอนควรที่ใช้สื่อการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง (2) ควรพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณให้มากขึ้น โดยการจัดกิจกรรมที่มีการพัฒนาความคิดให้ทันต่อปัญหาและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน (3) ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจ
ในภูมิปัญญาท้องถิ่น และความเป็นไทย โดยเสริมความรู้ในเนื้อหาบทเรียน เพื่อส่งเสริมความเป็นไทย และ
สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อไป และรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2560 (Self – Assessment Report : SAR) พบว่า จำนวนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้ผลการเรียนในวิชาภาษาไทย ระดับ 3 ขึ้นไป มีค่าร้อยละ 40.26 (รายงานประจำปีของสถานศึกษา 2560, หน้า
12 - 13)
จากปัญหาดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงมีความตั้งใจที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน วิชาภาษาไทยให้สูงขึ้น โดยการเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียน การสอนภาษาไทยกับ
กลุ่มโรงเรียนศรีราชา 5 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อปีการศึกษา 2558 - 2561 และได้นำความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนสื่อความ และการอ่าน
ตามแนวทาง PISA ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาจัดกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมให้มี
ความหลากหลาย ได้แก่
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมการอ่าน วิชาภาษาไทย รหัสวิชา ท 15101 สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง แหล่งธรรมลือเลื่อง ซึ่งเป็นการอ่านเอาเรื่องตามแนวทาง PISA
2. การแต่งบทร้อยกรอง กาพย์ยานี 11 จากต้นไม้ในบริเวณโรงเรียน
3. การสวดมนต์แปลไทย
4. การคัดลายมือ
5. การเขียนเรียงความ
6. โจ๊กปริศนา
ข้าพเจ้าได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการผสมผสานกันระหว่างความรู้ทางวิชาการและแนวคิด
แห่งศตวรรษ ที่ 21 ด้านการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา การสื่อสารและการร่วมมือทำงาน การคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะด้านข้อมูล สื่อ และ เทคโนโลยี
2
สื่อต่าง ๆ และด้าน ICT มาบูรณาการในการสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมการอ่าน วิชาภาษาไทย
รหัสวิชา ท 15101 สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยเลือกเนื้อหาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในชุมชนตำบลบางพระ เรื่อง แหล่งธรรมลือเลื่อง ซึ่งได้เลือกเนื้อหาในท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียนจากคำขวัญของตำบลบางพระ มาเรียบเรียงในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมการอ่าน โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนอ่านเพื่อการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาในท้องถิ่นจากการอ่าน และบูรณาการกับการจัดกิจกรรมในรูปแบบ DIREK Model ดังนี้
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบ DIREK Model
D คือ Do หมายถึง การลงมือปฏิบัติ
I คือ Integrate หมายถึง การร่วมมือช่วยเหลือกัน
R คือ Report หมายถึง การนำเสนอ
E คือ Emotion หมายถึง อารมณ์ที่สนุกสนานเพลิดเพลิน
K คือ Knowlage หมายถึง ได้รับความรู้
ทั้งนี้การปฏิบัติกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านใช้ความคิด สติปัญญา มีความรอบรู้ต่อสิ่งที่อ่าน จะช่วยให้ผู้อ่านคิดเป็น และเป็นการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการใช้ทักษะทางปัญญา และนำไปสู่การสร้างความรู้ ความคิด การตัดสินใจแก้ปัญหา การปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในยุคข้อมูลข่าวสารไร้พรมแดน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตได้
เป็นอย่างดี ตลอดจนส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยสูงขึ้น และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
วิชาภาษาไทย
ขั้นตอนในการดำเนินการได้กำหนด ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
4. แบบแผนการทดลอง
5. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
6. การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
7. การสร้างและหาคุณภาพแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
8. การสร้างแบบประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมการอ่านวิชาภาษาไทย
9. การสร้างแบบสอบถามวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
10. การหาคุณภาพชุดกิจกรรม
11. การวิเคราะห์ข้อมูล
12. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล