การพัฒนาชุดนิทานชุดสนุกกับสระ CHAIWAT MODEL
เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่อง
ทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ทำวิจัย นายชัยวัฒน์ อาษานอก โรงเรียนบ้านโคกกุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
บุรีรัมย์ เขต 4
ปี พ.ศ. 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดนิทาน
ชุดสนุกกับสระโดยการจัดการเรียนรู้แบบ CHAIWAT MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดนิทานชุดสนุกกับสระโดยการจัดการเรียนรู้แบบ CHAIWAT MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้ชุดนิทานชุดสนุกกับสระโดยการจัดการเรียนรู้แบบ CHAIWAT MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแก้ไขชุดนิทานชุดสนุกกับสระโดยการจัดการเรียนรู้แบบ CHAIWAT MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ
เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน มีระดับความสามารถทางสติปัญญาปกติ ไม่มี
ความพิการซ้ำซ้อนหรือมีปัญหาด้านสุขภาพ เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านโคกกุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำนวน 5 คน ได้มาโดย
การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อ
การเรียนรู้ จำนวน 8 เรื่อง แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และแผนการสอนเฉพาะบุคคล จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดนิทานชุดสนุกกับสระโดยการจัดการเรียนรู้แบบ CHAIWAT MODEL สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดำเนินการทดลองตามแผนการทดลองแบบ One Group Pretest - Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks Test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดนิทานชุดสนุกกับสระโดยการจัดการเรียนรู้แบบ CHAIWAT MODEL พบว่า กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน
และด้านการคิดคำนวณ คิดเป็นร้อยละ 100.000 ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 และครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 50.00 เท่ากัน เด็กนักเรียนมีปัญหามากที่สุดในด้านการอ่านคำพื้นฐานในระดับชั้นเรียนไม่ได้ มีค่าเฉลี่ย 5.00 และกลุ่มเป้าหมายมีความต้องการนำชุดนิทานชุดสนุกกับสระโดยการจัดการเรียนรู้แบบ CHAIWAT MODEL มาแก้ปัญหาด้านการอ่านคำพื้นฐานในระดับ
ชั้นเรียนไม่ได้ของเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 100.00 โดยนักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับคำพื้นฐานที่ประสมด้วยสระเออะ เออ เอียะ เอีย เอือะ เอือ อัวะ อัว และเอา ค่าเฉลี่ย 5.00 นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าเฉลี่ยผลการตรวจวัดเชาวน์ปัญญาของเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เท่ากับ 93.60
2. ประสิทธิภาพของชุดนิทานชุดสนุกกับสระโดยการจัดการเรียนรู้แบบ CHAIWAT MODEL
มีประสิทธิภาพ 92.58/86.11
3. ความสามารถในการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยของเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการสอนโดยใช้ชุดนิทานชุดสนุกกับสระโดยการจัดการเรียนรู้แบบ CHAIWAT MODEL อยู่ในระดับดีมาก และความสามารถในการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทยของเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุดนิทานชุดสนุกกับสระโดย
การจัดการเรียนรู้แบบ CHAIWAT MODEL หลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
มีความพึงพอใจต่อชุดนิทานชุดสนุกกับสระโดยการจัดการเรียนรู้แบบ CHAIWAT MODEL อยู่ในระดับ
มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.67