การพัฒนาชุดฝึกที่ส่งเสริมทักษะการอ่านโน้ตดนตรีไทย
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระศิลปะ(ดนตรี)
ผู้วิจัย นายดนัย สังมีแสง
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ(ท.1) อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
ปีที่ทำการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดฝึกที่ส่งเสริมการอ่านโน้ตดนตรีไทยของนักเรียนชุมนุมดุริยางค์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนชุมนุมดุริยางค์และ 3) เพื่อศึกษาทักษะการอ่านโน้ตดนตรีไทยของนักเรียนชุมนุมดุริยางค์ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 วิชาชุมนุมดุริยางค์โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ (ท.1) จำนวน 39 คนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2559 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกที่ส่งเสริมทักษะการอ่านโน้ตดนตรีไทยของนักเรียนชุมนุมดุริยางค์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระศิลปะ(ดนตรี) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) ชุดฝึกที่ส่งเสริมทักษะการอ่านโน้ตดนตรีไทยของนักเรียน ชุมชุมดุริยางค์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระศิลปะ(ดนตรี) ประกอบด้วยแบบฝึกจำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกที่ส่งเสริมทักษะการอ่านโน้ตดนตรีไทยของนักเรียนชุมนุมดุริยางค์กลุ่มสาระศิลปะ(ดนตรี) 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการพัฒนาชุดฝึกที่ส่งเสริมทักษะการอ่านโน้ตดนตรีไทยของนักเรียนชุมนุมดุริยางค์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระศิลปะ(ดนตรี) 4) แบบประเมินทักษะการอ่านโน้ตดนตรีไทย/แบบประเมินทักษะการปฏิบัติเครื่องดนตรี สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีประสิทธิผล
ผลการศึกษาพบว่า
1. การพัฒนาชุดฝึกที่ส่งเสริมทักษะการอ่านโน้ตดนตรีไทยของนักเรียนชุมนุมดุริยางค์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระศิลปะ(ดนตรี) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.27/80.13 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนชุมนุมดุริยางค์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระศิลปะ(ดนตรี) ที่เรียนด้วยชุดฝึกที่ส่งเสริมทักษะการอ่านโน้ตดนตรีไทย มีค่าระดับ 0.70
ค่าดัชนีประสิทธิผลแสดงให้เห็นว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 70
3. ทักษะปฏิบัติของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกที่ส่งเสริมทักษะการอ่านโน้ตดนตรีไทยของนักเรียนชุมนุมดุริยางค์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มสาระศิลปะ(ดนตรี) โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.35 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.05 มีผลการวิเคราะห์อยู่ในระดับ ดี